dc.contributor.advisor |
ทวีชัย สำราญวานิช |
|
dc.contributor.author |
อัญชนา กิจจานนท์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:34:32Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:34:32Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6186 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งพัฒนาแบบจำลองสำหรับการคำนวณการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตผสมเถ้าลอยที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาโดยแบบจำลองหลักประกอบด้วย 3 แบบจำลองย่อบ ได้แก่ แบบจำลองความสามารถเก็บกักคลอไรด์ แบบจำลองสัมประสิทธิ์การแพร่คลอไรด์และแบบจำลองการดึงดูดอิออนคลอไรด์ ซึ่งแบบจำลองความสามารถกักเก็บคลอไรด์ได้พิจารณาทั้งการยึดจับคลอไรด์ทางเคมี และทางกายภาพ แต่งานวิจัยนี้พัฒนาเฉพาะแบบจำลองการยึดจับคลอไรด์เนื่องจากกระบวนการทางกายภาพ ด้วยการขยายขอบเขตของข้อมูลและเพิ่มผลกระทบของความละเอียดของเถ้าลอย และความเข้มข้นคลอไรด์ที่เผชิญเข้าไว้ในแบบจำลอง ส่วนแบบจำลองสัมประสิทธิ์การแพร่คลอไรด์ถูกปรับปรุงโดยการขยายขอบเขตของข้อมูลการทดลอง การแพร่ออกคลอไรด์ขณะที่แบบจำลองการดึงดูดอิออนคลอไรด์พัฒนาด้วยการขยายฐานข้อมูลของการทดลองการแทรกซึมคลอไรด์และเพิ่มผลกระทบของอัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสานไว้ในแบบจำลองด้วย จากการศึกษาพบว่า แบบจำลองสามารถคำนวณการแทรกซึมคลอไรด์ของมอร์ต้าร์และคอนกรีตที่ผสมเถ้าลอยและไม่ผสมเถ้าลอยที่ความลึก ระยะเวลาบ่มน้ำ ระยะเวลาเผชิญคลอไรด์ อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานอัตราส่วนเถ้าลอยต่อวัสดุประสาน ชนิดของปูนซีเมนต์และเถ้าลอยต่าง ๆ ได้ โดยแบบจำลองสามารถทำนายได้ทั้งปริมาณคลอไรด์ทั้งหมดและปริมาณคลอไรด์อิสระ และผลที่ได้จากการคำนวณมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนในช่วง–15.88% ถึง +28.97% สำหรับผลการทดลองที่ใช้พัฒนาแบบจำลองและมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนในช่วง–11.93% ถึง +20.95% สำหรับผลการทดลองของนักวิจัยอื่น ๆ ยิ่งไปกว่านั้นแบบจำลองสามารถใช้ทำนายอายุการใช้งานที่ปลอดการบำ รุงรักษาซ่อมแซมของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้สิ่งแวดล้อมคลอไรด์ได้ด้วย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา |
|
dc.subject |
คอนกรีต -- การกัดกร่อน |
|
dc.subject |
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก |
|
dc.subject |
คอนกรีต -- อายุการใช้งาน |
|
dc.subject |
คลอไรด์ -- ผลกระทบต่อโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก |
|
dc.title |
แบบจำลองสำหรับการคำนวณการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตและอายุการใช้งานที่ปลอดการบำรุงรักษาซ่อมแซมของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้สิ่งแวดล้อมคลอไรด์ |
|
dc.title.alternative |
A model for determining chloride penetrtion profile in concrete nd repired-free service life of reinforced concrete under chloride environment |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis aims to study time-dependent chloride penetration profiles of concrete with fly ash. The main model consists of 3 sub-models, chloride binding capacity model, chloride diffusion coefficient model and chloride ion adsorption model. The chloride binding capacity model is considered for both chemical binding and physical binding. But, in this research only physical binding model is developed by extendingthe range experimental result and considering the effect of blaine fineness of fly ash and external chloride concentration in the model. The chloride diffusion coefficient model is improved by extending the range of experimental results of chloride diffusion. While, the chloride ion adsorption model is developed by extending the range experimental result of chloride penetration and taking into account the effect of fly ash to binder ratio in the model. From the study, it was found that the model can calculate chloride penetration profiles of mortar and concrete with and without fly ash at various depths, curing times, chlorides exposure periods, water to binder ratios, fly ash to binder ratios and types of cement and fly ash. The model can predict chloride penetration profiles of mortar and concrete for both total chloride contents and free chloride contents. The calculated results from model indicate the average error between -15.88% to +28.97% comparedtothe experimental results of developing model and -11.93% to +20.95% compared tothe experimental results of other researchers. Moreover, the model can be applied to predict the repaired-free service life of reinforced concrete structures under chloride environment. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|