DSpace Repository

การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ภาพรวมจรรยาบรรณวิชาชีพในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author กุหลาบ รัตนสัจธรรม th
dc.contributor.author พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ th
dc.contributor.author วิไล สถิตย์เสถียร th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:52:00Z
dc.date.available 2019-03-25T08:52:00Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/595
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงถึงส่วนร่วมและส่วนต่างของจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อสรุปเสนอแนะเชิงนโยบายการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยศึกษาเอกสารจรรยาบรรณวิชาชีพ สอบถามข้อมูลจากสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยภาครัฐในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 511 สาขาวิชา จาก 66 คณะ/สำนักวิชาของ 23 วิทยาลัย จัดเสวนาและวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เนื้อหา และผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาจำนวน 25 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์การจัดอันดับ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าควอไทล์ พิสัยควอไทล์ และสัมประสิทธิ์การกระจาย พบผลวิจัยดังนี้ จรรยบรรณวิชาชีพทั้งหมดที่เป็นลายลักษณ์อักษรมี 48 จรรยาบรรณ คือจรรยาบรรณของสัตวแพทย์ นักวิจัย นักธรณีวิทยา นักเคมีอุตสาหกรรม สถาปัตยกรรม (2 จรรยาบรรณ) วิศวกรรม (2 จรรยาบรรณ) การใช้อินเตอร์เน็ท การทำประมง การกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกรรม เวชระเบียน จิตแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ แพทย์ ตำรวจและนักกฏหมาย (5 จรรยาบรรณ) มัคคุเทศก์ ครู นักบัญชี ตรวจสอบภายใน นักหนังสือพิมพ์ (2 จรรยาบรรณ) นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักการตลาด นักบริหาร ประชาสัมพันธ์ นักรัฐศาสตร์ เลขานุการ (2 จรรยาบรรณ) นักเศรษฐศาสตร์ ทนายความ ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ บรรณารักษ์ ศิลปิน นักธุรกิจ (2 จรรยาบรรณ) อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และข้าราชการพลเรือน ส่วนร่วมของจรรยาบรรณทุกกลุ่มสาขาวิชาคือ ผู้ประกอบวิชาชีพควรมี ความซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รับผิดชอบ เคารพสิทธิผู้อื่น ไม่โกหกหลอกลวง และควรประกอบวิชาชีพโดย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ รักษามาตรฐาน ไม่ออกหลักฐานเท็จ ไม่ชักจูงผู้รับบริการผู้อื่นมาเป็นของตน รักษาความลับของผู้รับบริการ รักษาชื่อเสียง มีศรัทธาและคำนึงถึงความปลอดภัยของการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพ สุขภาพ และความปลอดภัยของประชาชน จากส่วนร่วมของจรรยาบรรณทั้งหมด ครวนำมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและปลูกฝังจรรยาบรรณ โดยนำส่วนร่วมของจรรยาบรรณมากำหนดเป็นดัชนีชี้วัด และประเมินความพึงพอใจตามดัชนีชี้วัดเหล่านี้ ควรมีการกำหนด วัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่ชัดเจนและวัดได้ ตามดัชนีชี้วัด ควรมีเนื้อหาแทรกในทุกรายวิชา หากมีวิชาเฉพาะควรมีการดูงานและฝึกปฏิบัติด้วย ควรมีอาจารย์ที่เป็นตัวอย่าง มีกิจกรรมการสอดแทรกทั้งในและนอกหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างและปลูกฝังจรรยาบรรณให้เกิดการซึมเข้าไปในจิตใจตั้งแต่ต้น โดยให้มีการลงมือปฏิบัติ และประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งองค์กรวิชาชีพควรมีการนำคำสำคัญร่วมนี้ไปกำหนดในจรรยาบรรณ แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการรับบริการ และมีการปรับปรุงจรรยาบรรณให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในส่วนของส่วนต่าง องค์กรวิชาชีพสามารถนำไปกำหนดเป็นลักษณะเฉพาะของวิชาชีพเพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนของเอกลักษณ์วิชาชีพนั้น ๆ th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนการพิมพ์เผยแพร่ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จรรยาบรรณ th_TH
dc.subject จริยธรรม th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ภาพรวมจรรยาบรรณวิชาชีพในประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Analysis and synthesis of professional ethics in Thailand en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2547
dc.description.abstractalternative This is a qualitative and quantitative research designed to gather professional ethics documents then analyzed and synthesized for the core and difference characteristics of the professional. The purpose was to make conclusions for policy planning, quality assurane, curriculum development, instruction, ethical improvement and lay foundation for professional ethics. Professional ethics documents were studied including information about major areas were given by 23 government universities. There were 511 major from 66 faculties and institutes. Workhop and critical comments were used to get feed back from 23 representatives professional then followed by inquiry 25 experts and scholars to confirm the results. The analysis of data was done by using Content Analysis, Triangular Approch, Ranking Frequencies, Percentage, Media Quartile, Interquartile Range and Coefficient of variation. The result of the study were as follows ; There were 48 professional ethics namely Veterian, Researcher, Geologist, Industrial chemist, Archetect (2), Engineer (2), Internet users, Fisherman, Physical Therapist, Medical Technician, Pharmacist, Mediacal Recorder, Psychiatrist, Nurse (2), Dentist, Physician, Policemen (5), Tourist guide, Teacher, Accountant, Internal Auditor, Newspaper reporter (2), Trust Analizer, Social worke, Marketing, Administrators, Public Relations Personnel, Political Sciencetist, Secretariat (2), Economist, Lawyer, Procurement officer, Librarian, Artist, Businessmen (2) Unibersity instructor, Quality assessors, and civil service officer. The core characteristics of every professional ethic groups were consisted of honesty, concern about public benefit, responsibility, respect one's right don't tell a lie or deceive. The characteristics as a professional one were consisted of responsibility, honesty, keeping professional standard, dont't give false statament, don'y take other's customer or clients, keep customer's secret, keeping fame, honor and realize of professional safety. Moreover, take responsibility toward welfare, health and safety of the people. The core characteristics of thics should be used for quality assurance, curriculum development, teaching and learning, developing and imprinting professional ethics. The core characteristics can be used to bring about the indicators and evatuate satisfaction from the indicators. The curriculum should state clear objectives and measurable according to the indicators. It was recommended that ethics should be integrated in every course in the curriculum. If ethics are organized as a special course, field work and practice should be included. Teacher as a role model, continuous ioternal an external curricula activites could imprint and absorb ethics into the mind at the beginning. Evalution is used for improvement of the activities. Professional organizations should take these key words into consideration in their ethical codes, make public known their ethics for secure services. In addition, etheir codes should be reviewed and updated to social changes. On the other hand, the different characteritics found in this study, the professional organizations could bring them to enact as the uniqueness of each profession en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account