DSpace Repository

การรับรู้สิทธิผู้ป่วย และการได้รับการพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วยของผู้คลอดในโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสภากาชาดไทย จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author พิริยา ศุภศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:59Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:59Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/588
dc.description.abstract การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิผู้ป่วยการได้รับการพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วย และ เปรียบเทียบการรับรู้สิทธิผู้ป่วยกับการได้รับการพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วยของผู้คลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่คลอดบุตรมีชีพ ที่ได้รับการดูแลและช่วยคลอดจากพยาบาล ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณะสุขและสภากาชาดไทย จังหวัดชลบุรี จำนวน 390 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้สิทธิผู้ป่วยและการได้รับพยาบาลตาทมสิทธิผู้ป่วยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค(Cronbach' alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม = .90 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(dependent t-test) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สิทธิผู้ป่วย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการรับรู้สิทธิผู้ป่วยในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ สิทธิด้านความเป็นส่วนตัว สิทธิด้านการได้รับข้อมูล และสิทธิด้านการได้รับบริการทางสุขภาพ และมีการรับรู้สิทธิผู้ในระดับน้อย 1 ด้าน คือ สิทธิด้านการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้การได้รับบริการตามสิทธิผู้ป่วยโดยรวมและรายด้านเช่นเดียวกับการรับรู้สิทธิผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการรรับรู้สิทธิผู้ป่วยกับการได้รับการพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สิทธิผู้ป่วยมีมากกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนการได้รับการพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น พยาบาลควรกระตุ้นให้ผู้คลอดเข้าใจในสิทธิผู้ป่วยของตนเองให้มากขึ้น ทุกกิจกรรมการพยาบาลต้องกระทำด้วยความตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้คลอดด้วย th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กฎหมายทางการแพทย์ th_TH
dc.subject บริการทางการแพทย์ th_TH
dc.subject ผู้ป่วย th_TH
dc.subject สิทธิผู้ป่วย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การรับรู้สิทธิผู้ป่วย และการได้รับการพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วยของผู้คลอดในโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสภากาชาดไทย จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative The perception of patients rights rights and the actually received on patients rights of women during labour in hospitals under jurisdiction on ministry of public health and title Thai red cross, Chon buri province en
dc.type Research
dc.year 2546
dc.description.abstractalternative This descriptive study was used to study the perception of patients rights and the actually received on patients rights and to compare the perception of patients rights and the actually received on patients rights of women during labour in hospitals under jurisdiction of Ministry of Public Health and the Thai Red Cross, Chon Buri province. Three hundred and ninety subjects were selected by simple random sampling. Data were collected by using researcher's developed questionnaire including, the Perception of Patients Rights and the Actually Receiveed on Patients Rights questionnaires. These questionnaires were tests for reliability and yielded Crobach's alpha value of .90 and .92 respectively. Data were analyzed y using frequencies, percentages, means, standard deviation and dependent t-test. The results of study revealed that the subjects perceived overall patients rights at a moderate level, three dimension were at a moderate level: the right to privacy, the right to obtain information and the right to the provision of health care, and one dimension was at a low level: the right to participate in health care decision-makeing. The subjects perceived overall actually received on patients rights and each dimension at the same level as the perception of patients right. The mean scores of the perception of the patients rights were significantly higher than the mean scores of the actually received on patients rights at level .05. This study indicated that nurses shound encourage woman during labour to have more understanding of their own patients rights, and nursing activities must be conducted with an overriding concern for the values and human dignity of patients en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account