Abstract:
การศึกษาการกระตุ้นการสืบพันธุ์ของหอยหวาน ด้วยอุณหภูมิ 23, 30 และ 32 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียสเป็นชุดควบคุม พบว่าการกระตุ้นด้วนอุณหภูมิสูงที่ 32 องศาเซลเซียส นั้นพบว่า ให้จำนวนฝักไข่ต่อเดือนเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 917 ฝัก มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
จากชุดการทดลองควบคุม และอุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) ขนาดของฝักไข่ จำนวนฝักไข่ และ ขนาดความยาวเปลือกเฉลี่ยของลูกหอยระยะ veliger ส่วนกระตุ้นการสือพันธุ์ด้วยความเค็มที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 20,25,30 และ 35 PUS โดยมีชุดการทดลองความเค็ม 30 PUS เป็นชุดควบคุม พบว่าการกระตุ้นด้วยความเค็ม 20 PUS ให้ปริมาณฝักไข่เฉลี่ยต่ำที่สุด 352 ฝักต่อเดือน ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05)จากชุดควบคุมที่ความเค็ม 30 PUS และชุดการทดลองความเค็ม 25 และ 35 PUS และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05)ขนากของไข่ฝัก จำนวนไข่ในฝัก และ ขนาดความยาวเปลือกเฉลี่ยของลูกหอยระยะ veliger ส่วนการกระตุ้นการสืบพันธุ์ด้วยฮอรโมนเอสโตรเจน และเทศโทสเตอโรน ให้ผลลักษณะคล้ายกันคือ ชุดการทดลองควบคุม ให้ปริมาณฝักไข่เฉลี่ยนสูงสุดโดยที่ขนาดฝักไข่ จำนวนไข่ในฝัห และขนาดความยาวเปลือกของลูกหอยระยะvileger ไม่มีความแตกต่างกัน