DSpace Repository

รูปแบบการบริหารงานโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษาศูนย์บริการทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Show simple item record

dc.contributor.author วนิดา สกุลรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:56Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:56Z
dc.date.issued 2536
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/552
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาสภาพโดยทั่วไปของศูนย์บริการทางการแพทย์เปรียบเทียบการบริหารงานของโรงพยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย แสวงหารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับศูนย์บริการทางการแพทย์ และแสวงหารูปแบบความร่วมมือร่วมแบบในการปฏิบัติงาน วิธีศึกษาประกอบด้วย การรวบรวมสถิติ การศึกษาเอกสารและการส่งแบบสอบถาม ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ผู้บริหารกองแผนงาน ผู้บริหารโครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ผู้บริหารศูนย์บริการทางการแพทย์ รวม 5 กลุ่ม มีผู้ตอบแบบสอบถาม 36 คน การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ เพื่อหาข้อคิดเห็นที่มีผู้ตอบสูงสุด ข้อค้นพบ 1. สภาพโดยทั่วไปของศูนย์บริการทางการแพทย์ ได้แก่ จำนวนคนไข้ จำนวนรายได้ จำนวนบุคลากร จำนวนงบประมาณที่ได้รับ มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นทั้งหมดยกเว้นสิ่งก่อสร้างคงที่ 2. โรงพยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีฐานะเป็นภาควิชา สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มีเพียง 1 แห่ง ที่สังกัดเวชศาสตร์เขตร้อน คือโรงพยาบาลเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยที่ไม่มีโรงพยาบาล แต่มีคณะแพทยศาสตร์ มี 2 แห่งคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 3. รูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของศุนย์บริการทางการแพทย์ ควรแก้ไขปรับปรุงให้เป็นหน่วยงานอิสระเทียบเท่าคณะวิชา แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เช่นเดียวกับภาควิชาและมีฝ่ายงานโรงพยาบาลเป็นส่วนประกอบเพื่อเป็นรากฐานไปสู่การเป็นคณะแพทยศาสตร์ในอนาคต ขอบข่ายงานที่ควรปฏิบัติได้แก่ งานรักษาพยาบาล งานฝึกปฏิบัติงานให้แก่นิสิตคณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง งานบริการวิชาการแก่สังคม และงานวิจัย 4. รูปแบบความร่วมมือในการฝึกงาน ควรมีข้อตกลง ตารางการฝึก งบประมาณ บุคลากร เทคนิควิธีการ หลักสูตรใหม่ และกำหนดเป็นนโยบายร่วมกัน เป็นนโยบายสั้น 1 ครั้ง ใช้ 1 ปี มีการสรุปปัญหาทุกครั้งที่สิ้นสุดการฝึกงาน และให้เกียติแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject บุคลากรทางการแพทย์ - - ชลบุรี th_TH
dc.subject โรงพยาบาล - - การบริหารงานบุคคล th_TH
dc.subject โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย - - ชลบุรี th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.title รูปแบบการบริหารงานโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษาศูนย์บริการทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. th_TH
dc.title.alternative Patterns of University Hospital Management: A case study of burapha University's Medical center. en
dc.type Research
dc.year 2536
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to study the patterns of management of Burapha University 's Medical center compared with those of public university hospital , to seek appropriate management for the University's Medical center , and to ask for assistance for medical training. The procedures of this study comprised the statistical compilation , Documental study , questionnaires were distribute to five executive group: the university president and vice president, Nursing Faculty dean and vice deans , planing sector Administrators . Thirty-six questionnaires were returned. The data were then analysed by mean of persentage of the opinions of participants. The finding were: 1. The number patients, revenues, The number of staff , and budget, in general had increased, but the building had remained unchanged. 2. Most hospitals under the supervision of the Ministry of University Affairs were with the Faculty of medical Sciences . One hospital, that is , the hospital of Tropical Medicine, Mahidol University , was with the Faculty of Tropical Medicine. Chulalongkron and Srinakharinwirot University , and that of the latter University with hospital under the supervision of Bangkok Metropolis. 3. The patterns of management of Burapha University ' Medical Center should be improved and the medical center should be turned into a faculty . It should then be divided into various departments as those in other university . The center could then become foundation of the of the Faculty of Medical Sciences in the future. This medical center should also be responsible for providing medical treatment, medical training for university students, academic services and researches. 4. The patterns of medical training should be in concensus with other agencies. The schedule, budget, staff, procedures and new curriculum should be harmoniously agreed in the short term lasting one year a time. At the end of the training , problem should be discussed. subsidies should be provided to trainer. And finally these trainer. and finally these trainer should be promoted to the rank of special lecturer en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account