Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของข้อมูลทั่วไป และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการสัมผัสศัตรูพืช กับอาการเจ็บป่วยจากการใช้สารปราบศัตรูพืช ของเกษตรกรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เกษตรกร จำนวน 129 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และเจาะเลือดตรวจหาระดับเอาไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร โดยเครื่องมือคิวเอ็ม เทสต์คิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าไควสแคว์ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 47.74 ปี การศึกษาอยู่ในระดับ ป.1-ป.6 106 คน (82.2%) ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่ 73 คน (56.6%) และ 110 คน (85.3) ส่วนใหญ่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลประเภทต่างๆ ขณะผสมสารหรือใช้สารปราบศัตรูพืช 55 คน (70.5%) โดยนิยมสมหน้ากาก ถุงมือ เสื้อคลุม รองเท้า และหมวกตลอดเวลาที่ทำงาน ส่วนแว่นตาจะสวมเพียง ¼ วัน ผลการตรวจวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด 51 คน (41.1%) มีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย ในด้านการหาความสัมพันธ์นั้น พบว่าลักษณะของข้อมูลทั่วไปมีเพียงเพศเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ต่อการสวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่ทำงานแยกจากเสื้อผ้าและรองเท้าที่ใช้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value ช 0.003 และ P-value = 0.025) นอกจากนั้นพบว่าการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด (P-value = 0.017) ระดับแอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรนั้นมีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยในปัจจุบันที่ปอด (P-value = 0.020) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยอื่นๆภายในร่างกาย ผลการควบคุมคุณภาพเครื่องมือชนิดอีคิวเอ็ม เทสต์คิต พบว่าระดับอุณหภูมิของบรรยากาศในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการมีความแตกต่างกัน (P-value = 0.000) แต่ผลการตรวจวัดระดับเอาไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (P-value = 0.743) การศึกษาในครั้งนี้สามารถนำผลการศึกษาไปประเมินความเสี่ยงความเป็นพิษจากสารปราบศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ต่างๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อป้องกันอันตรายจากสารปราบศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตต่อไป สัมพันธ์ต่ออาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ภายในร่างกาย ผลการควบคุมคุณภาพเครื่องมือชนิดอีคิวเอ้มเทสต์คิต พบว่าระดับอุณหภูมิของบรรยากาศในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value = 0.000) แต่ผลการตรวจวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value = 0.743) การศึกษาในครั้งนี้สามารถนำผลการศึกษาไปประเมินความเสี่ยงความเป็นพิษจากสารปราบศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อป้องกันอันตรายจากสารปราบศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตต่อไป