dc.contributor.author |
ชมพูนุท อ่ำช้าง |
|
dc.contributor.author |
จุฑาทิพย์ สุรารักษ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์ |
th |
dc.date.accessioned |
2023-04-11T02:53:45Z |
|
dc.date.available |
2023-04-11T02:53:45Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5303 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ งานวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
จากกองทุนเพื่อการวิจัย เงินอุดหนุนทุนการวิจัย คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้ได้ศึกษาความครอบคลุมของจานวนของศูนย์บริการสาธารณสุขในกรุงเทพมหานครของจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบันและการคาดการณ์จำนวนประชากรผู้สูงวัยในอนาคต ด้วยแบบจำลอง Autoregressive Integrated Moving Average Model (ARIMA) จากการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geography information systems) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเพื่อให้สามารถเข้าถึงการบริการได้สะดวกและครอบคลุมพื้นที่ตามแนวทางของระบบการจัดการโลจิสติกส์สุขภาพ
ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ด้วยวิธี autoregressive ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2561 โดยแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุมีในทุกเขต โดยเขตที่คาดว่าแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เขตคลองสามวา มีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 119 เปอร์เซ็นต์ เขตบางขุนเทียน และเขตหนอง และเขตทวีวัฒนา ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าในปี 2568 จะมีจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องการใช้บริการการแพทย์ในระดับปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงของการเป็นสังคมผู้สูงอายุในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครมีเขตที่เป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ในปี 2568 พบว่า เขตที่เป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดมีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็น 20 เขต เขตที่เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์มีจำนวนเขตที่เพิ่มขึ้น เป็น 24 เขต ในทางกลับกันจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้สูงอายุในเขตที่แสดงถึงสังคมผู้สูงอายุ ปี 2568 มีจำนวนน้อยลง นอกจากนี้การศึกษาพบว่าระดับการบริการและเข้าถึงด้วยรถยนต์ในระยะเวลา 20 นาทีและ 15 นาที สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและสามารถตอบสนองรองรับการให้บริการผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคตได้ แต่ไม่สามารถตอบสนองได้ครอบคลุมในระยะเวลา 10 นาทีและ 5 นาที แสดงว่าการเข้าถึงศูนย์สุขภาพของกรุงเทพมหานครด้วยรถยนต์ ต้องเดินทางในระยะเวลาที่ 20 นาทีเพื่อสามารถเข้ารับบริการได้จาก 145 แห่ง แต่ถ้าเป็นการเดินเท้าสามารถเข้ารับบริการได้ครอบคลุม ผู้สูงอายุต้องใช้เวลามากกว่า 30 นาที การศึกษานี้นำรูปแบบการบริการสุขภาพในรูปแบบเครือข่ายเข้ามาช่วยสนับสนุนศูนย์สุขภาพที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานครจากเดิม 145 แห่ง และร้ายขายยาหรือคลีนิคต่าง ๆ 191 แห่ง พบว่าการเข้ารับบริการด้วยระยะการเดินเท้าที่เหมาะสม ตามเวลาที่ 5 นาที 10 นาทีและ 15 นาที พบว่าพื้นที่ให้บริการในปัจจุบันกับรูปแบบการให้บริการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตมีพื้นที่บริการของรูปแบบใหม่สามารถครอบคลุม และเข้าถึงประชากรผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครได้เพิ่มขึ้น ระยะเวลา 5 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็น ร้อยละ 4.34 ระยะเวลา 10 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 21.09 ระยะเวลา 15 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็น ร้อยละ 20.35 |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
สังคมผู้สูงอายุ |
th_TH |
dc.subject |
ระบบสุขภาพ |
th_TH |
dc.title |
การวางแผนระบบโลจิสติกส์สุขภาพเพื่อกำหนดตำแหน่งหน่วยบริการสุขภาพสำหรับรองรับสังคมผู้สูงอายุ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Healthcare logistics system planning for facility location of aging society |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
chompoonut@buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
Silverbean8789@gmail.com |
th_TH |
dc.year |
2565 |
th_TH |