dc.contributor.author |
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ |
|
dc.contributor.author |
ถิรพงษ์ ถิรมนัส |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:54Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:54Z |
|
dc.date.issued |
2543 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/529 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับสารตะกั่วในเลือดของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่งในเขตภาคตะวันออก เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางเพื่อสำรวจการปนเปื้อนของตะกั่วในบรรยากาศบริเวณที่ตำรวจจราจรปฏิบัติงานและศึกษาสภาพการทำงานของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานจราจรในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่ง ตลอดจนวัดระดับสารตะกั่วในเลือด รวมทั้ง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับปริมาณระดับสารตะกั่วในเลือด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตเทศบาลเมืองของทั้ง 8 จังหวัดในเขตภาคตะวันออก จำนวน 229 คน โดยการสัมภาษณ์และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาระดับสารตะกั่วในเลือด รวมทั้งเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อตรวจวัดปริมาณฝุ่นและระดับสารตะกั่วในบรรยากาศการทำงาน
ผลการศึกษาพบว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ชลบุรี ร้อยละ 27.1 ฉะเชิงเทรา ร้อยละ 15.3 จันทบุรี ร้อยละ 14.0 ระยอง ร้อยละ 13.5 ตราด ร้อยละ 8.7 ปราจีนบุรี ร้อยละ 7.9 นครนายก ร้อยละ 7.4 และสระแก้ว ร้อยละ 6.1 ส่วนใหญ่เป็นตำรวจชั้นประทวน 208 คน (ร้อยละ 90.8) มีอายุระหว่าง 25 – 58 ปี สถานภาพสมรส 178 คน (ร้อยละ 77.7) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,052 บาท ถึงร้อยละ 48.0 มีการปฏิบัติหน้าที่ตำรวจจราจรมาแล้วทั้งหมดเฉลี่ย 7.0 ปี และมีการปฏิบัติงานบนท้องถนนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.1 โดยเฉลี่ย 5 – 7 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 52.4 ปฏิบัติงานบนท้องถนนเฉลี่ย 5 – 8 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.1 ใช้เป็นบางครั้งซึ่งที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าปิดปาก(ร้อยละ 97.3) และเหตุผลที่ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเนื่องจากไม่มีใช้และใช้แล้วอึดอัดหายใจไม่สะดวก ร้อยละ 46.9 และ 40.7 ตามลำดับ และยังพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 71.6 ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันอันตรายอันเนื่องจากฝุ่น และร้อยละ 80.3 ไม่เคยอบรมเกี่ยวกับอันตรายจากโรคพิษตะกั่ว สำหรับในการปฏิบัติหน้าที่บนท้องถนน มีการใช้อุปกรณ์ทางเดินหายใจ บ่อยครั้งหรือทุกครั้ง ร้อยละ 20.1 ไม่มีการสูบบุหรี่ (ร้อยละ 79.9) และหลังจากทำงานเสร็จ มีการล้างมือ บ่อยครั้งหรือทุกครั้ง (ร้อยละ 27.9) ล้างหน้า (ร้อยละ 32.3) และมีการเปลี่ยนเสื้อและกางเกง (ร้อยละ 46.3) นอกจากนี้พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่บนท้องถนนในแต่ละวันมีความปลอดภัยจากโรคพิษตะกั่วดีแล้ว ร้อยละ 51.5 สำหรับพฤติกรรมอื่น ๆ พบว่า มีการสูบบุหรี่ ร้อยละ 34.1 และมีการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 79.0 และทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารตะกั่วเพียงร้อยละ 3.1
ในการตรวจหาปริมาณความเข้มข้นฝุ่น พบว่า ในเขตเทศบาลเมืองภาคตะวันออก มีปริมาณฝุ่นทุกขนาด ในช่วง 0.355 – 6.028 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และปริมาณฝุ่นขนาดที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้ ในช่วง 0.049 – 2.861 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและมีปริมาณสารตะกั่วในบรรยากาศ ในช่วง 0.154 – 1.766 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐาน สำหรับระดับสารตะกั่วในเลือดของตำรวจจราจร มีค่าในช่วง 1.38 – 25.00 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่า ระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ตำรวจจราจร มีความสัมพันธ์กับระดับสารตะกั่วในเลือดของตำรวจจราจรและเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่มานานกว่า 10 ปี จะมีสัดส่วนของผู้ที่มีระดับสารตะกั่วมากกว่า 8 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร สูงกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่น้อยกว่า 10 ปี
The study of factors related to serum lead level among traffic police in Municipality Area of Eastern Region is cross – sectional analytic study. This performance is carried out for the purpose of inspecting the lead contamination in the atmosphere where they are performing their duties inclusive of measuring the lead level in their blood and also study the various factors affecting lead level in the blood. The data was collected from 229 traffic police officers who were on their duties from 8 provinces in eastern region. They were interviewed and their blood were collected to ascertain the serum lead level. Air sampling was also collected to measure the volume of both total and respirable dust and lead level in the surrounding working area.
The said total 229 traffic police officers are classified ley percentage as follows, Chonburi 27.1 percent, Chachengsao 15.3 percent, Chantaburi 14.0 percent, Rayong 13.5 percent, Trad 8.7 percent, Prachinburi 7.9 percent, Nakorn-Nayok 7.4 percent and Srakaew 6.1 percent. Most of them are warrant officers and the study was carried out at Amphur Muang are and their range in age are 25 – 58 years old. 178 officers were married which is equal to 77.7 percent of total 229 officers. 48.0 percent of them have and average income of 10,052 baht per month. The average of their duties are 7.6 years and the longest is 30 years. They are on their average duties for 7 years at the same place. 92.1 percent of them are performing their duties in the road at an average 5 – 7 days a week. 52.4 percent of them have an average duration of their duties 5 – 8 hours a day. As for the usage of protect apparatus it was found out that 54.1 percent of them used a cotton cloth mask to cover their nose and mouth. The reason for not using the said apparatus is that it is inconvenient for them to breath and also the supply of the said cotton cloth mask is insufficient to them which represent 46.9 percent and 40.7 percent respectively. In addition to the above it was also found out that 71.6 percent of them have not yet been trained and informed of the hazard of lead dust in the air and the reaction to their health when they are performing their duties on the roads directly the traffic. 20.1 percent of them utilize the protection mask and 79.9 percent of them are non-smokers. 27.9 percent of them often/some time wash and clean their hands after work. 32.3 percent clean their faces and 41.3 percent change their clothes. 51.5 percent of them realized the hazard of their performing their duties on the road. Other factors are smoking and drinking alcohol which are 34.1 percent and 79.0 percent respectively, while other activities relating to the exposure of lead contamination is only 3.1 percent.
The total dust concentration in the municipal areas of the eastern region the total dust is in the range of 0.355 – 6.028 mg/m and respirable dust is in the range of 0.049 – 2.861 mg/m . There is a volume of lead level in the atmosphere in the range of 0.154 – 1.766 mg/m which is not over the standard of lead level allowed compared with 1.38 – 25.00 mg/dl of them. It is also revealed that the offices who are on their duties for more than 10 years have a lead level in their blood over 8 mg/dl which is above to those police officers whose work is less than 10 yaers. |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยได้รับทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หมวดเงินอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ตะกั่วในร่างกาย |
th_TH |
dc.subject |
ตำรวจจราจร - - ไทย (ภาคตะวันออก) |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.subject |
เลือด |
th_TH |
dc.title |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับสารตะกั่วในเลือดของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่งในเขตภาคตะวันออก |
th_TH |
dc.title.alternative |
Factors related to serum lead level among traffic police in municipality area of Eastern Region |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2543 |
|