DSpace Repository

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคหืด

Show simple item record

dc.contributor.author เบญจารัตน์ ทรรทรานนท์
dc.contributor.author ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
dc.contributor.author วราวุฒิ เกรียงบูรพา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2023-03-18T12:40:05Z
dc.date.available 2023-03-18T12:40:05Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5131
dc.description.abstract ที่มาของปัญหา: โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังของทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยในเด็ก ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต จุดมุ่งหมายสำคัญของการรักษาโรคหืดคือการที่ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะควบคุมโรค ลดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต ผู้ดูแลควรมีความรู้เกี่ยวกับโรค การใช้ยา และการป้องกันการกาเริบของอาการ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก วัตถุประสงค์:.เพื่อศึกษาความรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคหืด ระดับการควบคุมโรค และความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคหืด วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นแบบเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลในเด็กที่มาตรวจในคลินิกโรคหืด ช่วง 17 มีนาคม 2563 ถึง 16 มีนาคม 2564 ให้ผู้ดูแลทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโรคหืดและทดสอบคุณภาพชีวิตในเด็กที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 7 ปี โดยใช้แบบสอบถาม Pediatric Asthma Quality in Life Questionnaire (PAQLQ) ผลการศึกษา: พบว่ามีผู้ป่วย 60 คน อายุเฉลี่ย 9.91 ± 2.69 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 56.7 โรคภูมิแพ้ที่พบร่วมส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคโพรงจมูกอักเสบพบร้อยละ 43.3 ส่วนใหญ่ใช้ยาพ่นควบคุมอาการอย่างสม่ำเสมอร้อยละ 86 คะแนนความรู้ผู้ดูแลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 16.7 ± 2.46 จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน (ร้อยละ 78.3) มีความรู้เรื่องอาการกำเริบของโรคหืดมากที่สุดร้อยละ 80 ความรู้ทั่วไปและอาการของโรคน้อยที่สุดร้อยละ 56.7 ระดับการควบคุมโรค ควบคุมได้ร้อยละ 50 กลุ่มที่ควบคุมได้มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมและรายด้านมากกว่ากลุ่มที่ควบคุมได้บางส่วนในทุกด้าน โดยคะแนนคุณภาพชีวิตด้านอารมณ์กลุ่มที่ควบคุมได้มากกว่ากลุ่มควบคุมได้บางส่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p value = 0.041 ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของผู้ดูแลกับการควบคุมโรคหรือคุณภาพชีวิตของเด็กโรคหืด สรุป: ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของผู้ดูแลกับการควบคุมโรคหรือคุณภาพชีวิตของเด็กโรคหืด th_TH
dc.description.sponsorship ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject หืดในเด็ก th_TH
dc.subject หืด - - โรค th_TH
dc.subject ทางเดินหายใจ - - โรค th_TH
dc.title ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคหืด th_TH
dc.title.alternative Factors influencing Quality of Life in Asthmatic Children en
dc.type Research th_TH
dc.author.email benzjarut@hotmail.com th_TH
dc.author.email taweelarp@buu.ac.th th_TH
dc.author.email warakria@gmail.com th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Background: Asthma is a common chronic inflammatory disorder of the airways in children and impact to quality of life. Specific goals are the achievement of the best possible clinical control and reduction in the future risk of adverse outcomes. Caregivers’ understanding of the disease process, appropriate use of medications and prevention of acute exacerbation are important for effective management especially in children. Objectives: This study aim to assess the caregiver asthma knowledge, level of control, quality of life and relationship between variables in Thai asthmatic children Materials and methods: Descriptive cross sectional study was conducted, Children with diagnosed asthma were recruited at Burapha university hospital during March 17th, 2020 to March 16th, 2021.Quality of life and caregivers’ knowledge were collected using questionnaires. Quality of life was evaluated by Pediatric Asthma Quality in Life Questionnaire (PAQLQ) Results: 60 asthmatic children were enrolled. Mean aged was 9.91 ± 2.69 yrs. 56.7 % were male. Most common atopic disease was allergic rhinitis 43.3%. Most of the patient had regular use controller 86%.Total mean score of asthma knowledge was 16.7 ± 2.46 (78.3%) out of 25 points. The highest scores were the exacerbation knowledge (80%). The lowest scores were symptoms of asthmatic disease (56.7%). Most asthmatic children were controlled (50%). The mean total quality of life scores and quality of life in each aspect in controlled group more than in partly controlled group. The emotional domain had a significant higher scores in controlled group than partly controlled group p value = 0.041. No correlation between caregiver asthma knowledge and level of control or quality of life in asthmatic children. Conclusions: No correlation between caregiver asthma knowledge and level of control or quality of life in asthmatic children. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account