dc.contributor.author | อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์ | |
dc.contributor.author | เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ | |
dc.contributor.author | จุฬาภรณ์ โสตะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | th |
dc.date.accessioned | 2023-02-13T04:18:03Z | |
dc.date.available | 2023-02-13T04:18:03Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5128 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้ในการปฏิบัติตน ในการเดิน-วิ่ง ต่อ ระดับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ กลุ่มประชากรที่ศึกษาในงานวิจัยในครั้งนี้ คือผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี ที่ทำกิจกรรมเดินและวิ่ง ที่สวนสาธารณะหรือสนามกีฬา ที่อยู่ในมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี คำนวณจากจำนวนประชากรโดยข้อมูลประชากรสำนักงานทะเบียนราษฎร์กรมการปกครองจังหวัดกระทรวงมหาดไทยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 240 คน เก็บเพิ่มอีกร้อยละ 5 เพื่อกันข้อมูลเสียหาย จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 258 คน ซึ่งมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 64.4 และเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 32.6 ตามลำดับ ส่วนอายุ ส่วนใหญ่อายุ 62 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.4 ความสัมพันธ์การรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้ในการปฏิบัติตนในการเดิน – วิ่งต่อ ระดับ ไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองกับไขมันของร่างกาย ของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยของคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติกับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก กล่าวคือผู้สูงอายุมีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติมากเท่าไร ก็จะส่งผลต่อกับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ดีขึ้น ค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง กับไขมันของร่างกาย และรอบเอว ของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก กล่าวคือผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง มากขึ้น ก็จะส่งผลให้ค่าระดับไขมันร่างกายและรอบเอว ดีขึ้น ส่วน ค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง กับดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กันในเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก กล่าวคือผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง มากขึ้น ไม่ส่งผลหรือไม่มีผลในเชิงบวก ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง การคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติและการปฏิบัติตนในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มากที่สุดคือ ท่านสามารถเดิน-วิ่ง โดยเริ่มจากระดับเบาไปหา ระดับที่หนักได้ (x̅= 4.19) และข้อที่รองลงมาคือ ท่านสามารถเตรียมความพร้อมก่อนการเดิน-วิ่ง และ หลัง (x̅= 4.12) และ ท่านสามารถหาสถานที่เดิน-วิ่ง ได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง และมีความปลอดภัยเพียงพอ(x̅= 4.12)ส่วนที่ระดับน้อยที่สุดคือ ท่านสามารถเดิน-วิ่ง โดยการเดินวิ่งเหยาะๆ ต่อเนื่องกัน 30 นาที (x̅= 3.97) ส่วนค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มากที่สุดคือ มีความเชื่อว่าการการเดิน-วิ่ง จะสามารถทำให้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหายไป (x̅= 4.23) และข้อที่รองลงมาคือ มีความเชื่อว่าการเดิน-วิ่ง จะสามารถทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทำการออกกำลังกายแล้วทำได้นานโดยไม่มีอาการเหนื่อย (x̅= 4.14)ส่วนที่ระดับน้อยที่สุดคือมีความเชื่อว่าการเดิน-วิ่ง อย่างถูกต้องทำให้ท่านมีระดับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย อยู่ ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีอาการเมื่อยล้าจากการปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกาย (x̅= 4.08)และมีความเชื่อเชื่อว่าการเดิน-วิ่ง ได้พบปะเพื่อนและมีคนรู้จักมากขึ้น(x̅= 4.08) และ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการปฏิบัติตนในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มากที่สุดท่านมาเดิน-วิ่ง ต่อครั้งนานครั้งละ 30 ชั่วโมง (x̅= 4.21) และข้อที่รองลงมาคือ ท่านมาเดิน-วิ่ง อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์(x̅= 4.16) และ ท่านทำการอบอุ่นร่างกาย ก่อนและหลัง ทุกครั้ง(x̅= 4.16) ส่วนที่ระดับน้อยที่สุดคือท่านสำรวจความพร้อมของร่างกายก่อนเดิน-วิ่ง ในด้านสุขภาพ ว่าสามารถเดิน-วิ่ง ได้โดยปลอดภัยไม่เป็นอันตราย(x̅= 4.00)สรุปได้ว่าการที่ผู้สูงอายุที่มาเดิน-วิ่ง ในเขตเทศบาลแสนสุข นั้นการรับรู้ความสามารถตนเอง คาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และการปฏิบัติตนในการเดิน-วิ่งของ ผู้สูงอายุที่เป็นอาสาสมัคร มีการรับรู้และตระหนักเป็นอย่างดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ แต่การที่จะมีรอบเอว ระดับไขมันใต้ผิวหนัง และค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องมีการสนับสนุน เช่น การดูแลเรื่องโภชนาการ การเข้มงวด การเดิน-วิ่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างร่างกายอย่างถูกต้องและปลอดภัย | th_TH |
dc.description.sponsorship | ทุนอุดหนุนการวิจัยบุคลากร (ประเภทเงินรายได้) ประจำปีงบประมาณ 2562 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โรคอ้วน | th_TH |
dc.subject | การออกกำลังกาย | th_TH |
dc.subject | ดัชนีมวลกาย | th_TH |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้ในการปฏิบัติตนในการเดิน วิ่งต่อ ระดับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.title.alternative | A study of the relationship of self-efficacy and perception of the walking-running behavior on body fat level, waist circumference and body mass index of the elderly | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2565 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research was survey research which aimed to study the relationship of self-efficacy and perception of the walking-running behavior on body fat level, waist circumference and body mass index of the elderly. The population studied in this research was the elderly whose ages were between 60-80 years old. They did the walk-run activity at the park or stadium n Saen Suk Sub-district, Mueang District, Chonburi Province. The sampling group was calculated from the population by the information from the Bureau of Registration Administration (BORA), Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. The sample size was 240 people, and the 5% of the sample was additionally collected to prevent the damage of data for 18 people. Thus, the sampling group included a total of 258 people. The data was collected from interview. The results showed that the majority of the volunteers were males (64.4%) and females presented 32.6% respectively. Most of their ages were around 62 years old, accounted for 24.4%. According to the relationship of self-efficacy and perception of the walking-running behavior on body fat level, waist circumference and body mass index of the elderly, the results found that there was a statistically significant positive correlation at the .01 level between the mean scores of the questionnaire on self-efficacy and body fat of the elderly with a very low p value. Also, the mean scores between the outcome expectations and body fat, waist circumference, and BMI of the elderly were statistically significantly positive at the .01 level, with a very low p value. In other words, the more the elderly had expectations of the practice outcome, the better effect on body fat, waist circumference, and body mass index. Moreover. the results from the questionnaire of the walking-running behavior on body fat level and waist circumference of the elderly found that there was a statistically significant positive correlation at the .01 level with a very low p value. It meant that when the elderly had more wak-runpractices, it was resulted in a better level of body fat and waist circumference. However, the mean scores of the questionnaire of the walking-running behavior on the body mass index of the elderly had negative correlation as it was statistically significant at the .01 level, with a very low p value. When the elderly had more walking-running behaviors, there was neither effective nor positive effect on the body mass index of the elderly. In addition, the overall mean and standard deviation of the questionnaire of self-efficacy, the outcome expectations and the walking-running behavior of the elderly was at a high level. The highest mean went to item 2. You could walk and run, starting from the lightest to most intensive level (x̅= 4.19), followed by item 6 that you could prepare before and after the walk-run activity (x̅= 4.12), 3 that you could find a place to do the walk-run activity without travel problems and with safe enough (x̅ = 4.12). The lowest level was item 1that you could do the walk -–run by jogging continuously for 30 minutes (x̅ = 3.97). Moreover, the overall mean and standard deviation of the questionnaire of the outcome expectations in the walking-running behavior of the elderly was at a high level. The highest mean was item 3. The elderly believed that that the walk-run activity would be able to relieve the muscle aches completely (x̅= 4.23). The following mean was item 3. The elderly believed that they would be able to improve blood circulation, so they could do exercise for a long time without getting tired (x̅= 4.14). However, the lowest level was item 6. The elderly believed that the walk-run activity with accurately could balance the level of body fat, waist circumference and body mass index in the normal range and no fatigue from physical activity (x̅= 4.08). Besides, the elderly believed that through the walk-run activity, they could meet more friends and acquaintances (x̅= 4.08). Additionally, the results from the questionnaire found that the overall mean and standard deviation of the walking - running behavior of the elderly was at a high level. The highest mean went to item 1. The elderly came to do the walk-run activity for 30 minutes per time (x̅= 4.21). The following item was that the elderly did the walk-run activity regularly at least 3 days a week (x̅= 4.16), and they always warmed up before and after doing the activity (x̅= 4.16). The lowest mean was item 2,3. The elderly checked their physical readiness before doing the walk-run activity. Based of health, the elderly could run safely and harmlessly (x̅= 4.00). In conclusion, the results from this study regarding the self-efficacy, the expected outcomes and the walking – running behavior showed that the elderly who came to walk and run in the municipality of Saensuk had self-efficacy and well awareness that exercise was beneficial for them. On the other hand, there were many factors that in need of support to have good effect on body fat, waist circumference, and body mass index, such as nutritional supervision, intensive walk-run activity, to achieve the development of body composition properly and safely. | en |