Abstract:
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็น การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ หนึ่ง เพื่อศึกษาปัญหาและความจำเป็นในการปรับฐานะเทศบาลนคร แหลมฉบังเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สอง เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทศบาลนครแหลมฉบังให้เป็น ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ และ สาม เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลให้เป็น ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ท้องถิ่น พนักงานข้าราชการส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาและความจำเป็นในการปรับฐานะเทศบาลนครแหลมฉบังเป็น ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมี หนึ่ง ปัญหาด้านการจัดการบริการสาธารณะในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม ท่าเรือ และชุมชน สอง ปัญหาด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย และสาม ปัญหา ด้านรายได้และงบประมาณในการบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนาเทศบาลนครแหลมฉบังให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ พบว่า มี 4 แนวทาง ได้แก่ หนึ่ง รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ต้องยกเลิกการกดทับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การบังคับแห่ง กฎหมาย และต้องให้เสถียรภาพทางการนโยบาย สอง เทศบาลนครแหลมฉบังต้องหันกลับมาสนใจ กับการผลักดันและขับเคลื่อนตนเองเข้าสู่การเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สาม กฎหมายและระเบียบ ต้องปรับให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจุบันและพื้นที่ และต้องให้อำนาจในการบริหาร จัดการพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น และสี่ ประชาชนต้องมีความเข้มแข็งในระดับรากฐานของชุมชน และต้อง มีการรับรู้สิทธิและสิทธิพิเศษของการเป็นเมืองพิเศษ ความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครแหลมฉบัง ได้แก่ ถนนชำรุดเสียหาย การจราจรติดขัด การจัดการขยะ ประชากรแฝง ชุมชนแออัด น้ำท่วมขัง สาธารณูปโภคไม่เพียงพอ มลพิษจากอุตสาหกรรมและท่าเรือ การทุจริตภายในหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์และการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ การท างานของหน่วยงานที่ล่าช้า ขาดการลงพื้นที่ดูแลประชาชนและชุมชน และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารงานของเทศบาล นครแหลมฉบัง ส่วนผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ มีการจัดเก็บภาษีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้อง กับพื้นที่ การได้รับผลประโยชน์ในด้านสาธารณสุข การรองรับเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต การได้รับบริการสาธารณะที่ดียิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างเทศบาลและประชาชนในพื้นที่ การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของชุมชน และการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง