DSpace Repository

การวิเคราะห์จุดเสี่ยงโดยใช้เทคนิคระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และปัจจัยทำนายความรุนแรงการเกิดอุบัติภัยจราจรบนท้องถนนในจังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author กุหลาบ รัตนสัจธรรม th
dc.contributor.author วิวัฒน์ วิริยกิจจา th
dc.contributor.author ธนัญชัย บุญหนัก th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/50
dc.description.abstract การวิจัยแบบไม่ทดลองนี้ เพื่อวิเคราะห์จุดเสี่ยงและปัจจัยทำนายความรุนแรงการเกิดอุบัติภัยจราจรบนถนนจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นจุดเสี่ยงสูง 23 จุด และผู้ประสบอุบัติภัยจราจรทางถนน สาย 3, 36, 344 และ สาย 319 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 โดยใช้แบบบันทึกการเก็บจุดพิกัด และ แบบบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุที่ผ่านมาวิเคราะห์ความตรงแล้ว นำมาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์องค์ประกอบ วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค ความเสี่ยงสัมพันธ์ อำนาจในการทำนาย และร้อยละรวมของการทำนายถูกต้อง ตามเงื่อนไขข้อตกลงของสถิติแต่ละตัวได้ผลการวิจัยโดยสรุปดังนี้ คือจุดเสี่ยงสูงทั้ง 23 จุด พบมากที่สุดอยู่ในอำเภอเมือง 11 จุด รองลงมาพบอยู่ในอำเภอแกลง 8 จุด อำเภออื่น ๆ กระจายกันอำเภอละ 1 จุด ตำแหน่งของรถที่เกิดอุบัติเหตุถูกชนบ่อยครั้งมากที่สุดคือ บริเวณด้านหน้ารถรองลงมาคือถูกชนบริเวณบังโคลนหน้าด้านซ้าย และพบปลอดภัยมากที่สุดคือบริเวณกลางคันด้านขวา อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุของแต่ละจุดเสี่ยง อยู่ระหว่าง 47.34-492.13 ต่อจำนวนรถที่ผ่านแสนคันต่อปี เส้นถนนที่พบจุดเสี่ยงมากที่สุดคือสาย 3 รองลงมาคือสาย 36 ปัจจัยทำนายความรุนแรงการเกิดอุบัติภัยจราจรบนถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05 พบปัจจัยทำนายการตายจากอุบัติเหตุ 3 ตัว คือ สภาพแวดล้อมที่มือไม่มีไฟฟ้า/แสงสว่าง เดือนตุลาคมและอายุต่ำกว่า 20 ปี ร่วมกันทำนายการตายนี้ได้ร้อยละ 34.02 ส่วนปัจจัยทำนายการเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุ พบ 4 ตัว คืออายุต่ำกว่า 20 ปี เวลา 0.00-3.59 น. หลักฐานการอนุญาตคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถบางคันหมดอายุ และถนนแห้ง ร่วมกันทำนายการเจ็บหรือตายนี้ได้ร้อยละ 33.42 ผู้ประสบเหตุอายุต่ำวก่า 20 ปี มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะตายจากอุบัติเหตุเป็น 13.65 เท่า (หรือระหว่าง 2.72-68.42 เท่า) มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 16.51 เท่า (หรือระหว่าง 3.81-71.49 เท่า) สภาพแวดล้อมที่มือไม่มีไฟฟ้า/แสงสว่าง ทำให้ผู้ประสบเหตุมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะตายจากอุบัติเหตุเป็น 32.79 เท่า (หรือระหว่าง 4.70-228.82 เท่า) และเดือนตุลาคมมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะตายจากอุบัติเหตุเป็น 7.49 เท่า (หรือระหว่าง 1.53-90.52 เท่า) ผู้ประสบเหตุเวลา 0.00-3.59 น. มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 3.41 เท่า (หรือระหว่าง 1.05-11.09 เท่า) ถนนแห้งมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 3.23 เท่า (หรือระหว่าง 1.54-6.74 เท่า) หลักฐานการอนุญาต การมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีเพียงบางคัน มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 6.27 เท่า (หรือระหว่าง 2.11-18.64 เท่า) ดังนั้น ในการลดความเสี่ยงของความรุนแรงการเกิดอุบัติเหตุภัยจราจรนี้ ควรมีการติดตั้งแสงสว่างทุกจุดเสี่ยงให้เพียงพอ ควบคุมกวดขันผู้ขับขี่ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ให้ความสนใจแก้ปัญหาเร่งด่วนในกลุ่มรถที่ขาดการต่ออายุพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ในเดือนตุลาคมและถนนแห้ง ซึ่งจะช่วยให้เกิด ความปลอดภัยในการสัญจรบนท้องถนนดังกล่าว th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2547 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ - - วิจัย th_TH
dc.subject ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ - - วิจัย th_TH
dc.subject อุบัติเหตุทางถนน - - ระยอง - - วิจัย th_TH
dc.subject อุบัติเหตุ - - ระยอง - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การวิเคราะห์จุดเสี่ยงโดยใช้เทคนิคระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และปัจจัยทำนายความรุนแรงการเกิดอุบัติภัยจราจรบนท้องถนนในจังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative Risk area analysis by using GIS technique and predictable factors toward road traffic accident severity in Rayong province en
dc.type Research th_TH
dc.year 2548
dc.description.abstractalternative This non-experimental design was to analyse risk area and predictable factors toward road traffic accident severity. The sample consisted of twenty three high risk areas and accidental cases on road number 3, 36, 344, and 3191 during May to October, 2004. The research instruments are 2 record forms which their content validity are acceptable. Data analysis was done by using spatial analysis, frequency, percentage, factor analysis, logistic regression which test assumption for multicolinearity, odds ratio, and predicted classification. The study results showed that:Twenty three high risk areas were clustered in seven groups. The biggest group was in Muang district, the second and the third groups were in Glang district. There is one risk area in each of the remaining districs. The most frequent vehicle impact site is front, the second is front lateral left, and very few accidents damage on middle lateral right side. Incident rate of accident ranged from 47.34-492.13 per 100,000 vehicle per year. Sukhumvit highway (primary #3) was most dangerous. Highway number 36 was the second highest risk. Traffic accidents with deaths were most likely to occur where was no street light, in the month of October, and involve persons less than 20 years old. Similarly, road accidents were most likely to occur for persons under 20 years old, times between midnight and 4:00 AM, vehicles with expired government insurance (the expired protection for motor vehicle victims act card) and occurred on dry roads . The Odds ratio for the above conditions was less than 20 years old death case was 13.65 (range 2.72 to 68.42), 20 years old case was 16.51 (range 3.81 to 71.49), death case on no street light was 32.79 (range 4.70 to 228.82), death case on October was 7.49 (rang from 1.53 to 90.52), case on time between midnight and 4:00 AM. was 3.41 (range from 1.05 to 11.09), case on dry road was 3.23 (range from 1.54 to 6.74) and case with the expired government insurance in some vehicle was 6.27 (range from 2.11 to 18.64). Therefore, it is recommended that the reduction of road traffic accident severity should be enough street light in dark area. Prevention needs to be concentrated and controlled more on persons less than 20 years old. Moreover, there is the need to pay more attention to an expiration of the protection for motor vehicle accident victims act card, a particular month of the year especially on October, and dry road to bring about safe travelling of the people. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account