dc.contributor.author |
ศรีภาพรรณ ธาระนารถ |
|
dc.contributor.author |
รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล |
th |
dc.date.accessioned |
2023-01-16T08:39:55Z |
|
dc.date.available |
2023-01-16T08:39:55Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5084 |
|
dc.description |
ทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีทางทะเล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษานี้เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรน (Western Blot Transfer System for Mini-Gel) ระหว่างแบบถังเปียก (Wet/Tank Blotting Systems) รุ่น Mini Trans-Blot® Cell และแบบกึ่งแห้ง (Semi dry) รุ่น Trans-Blot® Turbo™ Transfer System ในการตรวจสอบระดับโปรตีนไวเทลลินในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงจากบ่อดิน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 6 ชุดการทดลองคือ กุ้งไม่ถูกตัดตาได้รับอาหารเม็ดปกติหรือชุดควบคุม (N=12), กุ้งที่ถูกตัดตา 1 ข้างได้รับอาหารเม็ดปกติ (N=12), กุ้งที่ได้รับอาหารเม็ดผสมฮอร์โมน 10, 50, 100 และ 500 mg/kg ของอาหาร (N=16, 16, 16 และ 8) ตามลำดับ โดยเลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน เก็บตัวอย่างรังไข่ ตับ/ตับอ่อนและเลือด ในวันที่ 35 และ 60 วันของการเลี้ยง
จากการหาค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ดัชนีรังไข่ของวันที่ 35 พบว่า ในชุดการทดลองที่ 2 มีค่าสูงกว่าการทดลองอื่น (1.78±0.65%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกุ้งที่เลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน มีค่าเปอร์เซ็นต์ดัชนีรังไข่ไม่แตกต่างกันทางสถิติในทุกชุดการทดลอง จากการวัดปริมาณโปรตีนในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ พบว่า ในเลือดมีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด (16.07–314.55 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) เมื่อเทียบกับรังไข่ (0.25–8.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และตับ/ตับอ่อน (0.92–8.79 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ที่มีปริมาณโปรตีนที่ใกล้เคียงกัน จากการตรวจสอบรูปแบบโปรตีนในเลือด รังไข่ และตับ/ตับอ่อน ด้วย 10% โพลีอะครีลาไมด์เจล (SDS-PAGE) พบแถบโปรตีนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำนวน 20-40 แถบ
เมื่อศึกษาขนาดของโปรตีนไวเทลลินด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอท โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรนระหว่างแบบถังเปียก รุ่น Mini Trans-Blot® Cell และแบบกึ่งแห้ง รุ่น Trans-Blot® Turbo™ Transfer System โดยใช้แอนตี้บอดีที่จำเพาะต่อโปรตีนไวเทลลินของกุ้งกุลาดำ พบว่า ตัวอย่างกุ้งที่เลี้ยงเป็นระยเวลา 35 วัน และ 60 วัน พบโปรตีนไวเทลลินจำนวน 13 และ 15 ขนาด ตามลำดับ โดยมีขนาดโปรตีนที่เหมือนกันคือ 200, 157, 130, 104, 74, 63, 58, 38 และ 34 กิโลดาลตัน แถบโปรตีนที่ได้จากการส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรนแบบกึ่งแห้งจะปรากฎแถบโปรตีนที่มีความคมชัดมากกว่าแบบถังเปียก จากการเปรียบเทียบระดับโปรตีนไวเทลลินในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงเป็นระยะเวลา 35 และ 60 วัน ที่ได้จาก 2 วิธี พบการปรากฏและไม่ปรากฎของแถบโปรตีนที่ให้ผลตรงกันคิดเป็นร้อยละ 89.32 และ 94.44 ตามลำดับ การปรากฏของแถบโปรตีนที่ไม่ตรงกันคิดเป็นร้อยละ 10.68 และ 5.56 ตามลำดับ และ พบว่า ทั้ง 2 วิธี ให้ผลของการปรากฏแถบโปรตีนจำนวนเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 50 การวิเคราะห์แบบกึ่งแห้งให้จำนวนแถบโปรตีนมากกว่าแบบถังเปียกคิดเป็นร้อยละ 46.67 ในขณะที่การวิเคราะห์แบบถังเปียกให้จำนวนแถบโปรตีนมากกว่าแบบกึ่งแห้งคิดเป็นร้อยละ 3.33 |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
คณะเทคโนโลยีทางทะเล |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
th_TH |
dc.subject |
กุ้งกุลาดำ |
th_TH |
dc.title |
การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรน (Western Blot Transfer System for Mini-Gel) ระหว่างแบบถังเปียก (Wet/Tank Blotting Systems) รุ่น Mini Trans-Blot® Cell และ แบบกึ่งแห้ง (Semi dry) รุ่น Trans-Blot® Turbo™ Transfer System ในการตรวจสอบระดับโปรตีนไวเทลลินในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ |
th_TH |
dc.type |
Book |
th_TH |
dc.year |
2559 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This study were examined the efficiency of Western Blot Transfer System between Wet Tank Blotting Systems version of Mini Trans-Blot® Cell and Semi-dry version of Trans-Blot® Turbo ™ Transfer System. The vitellin protein levels examination in the female domesticated giant tiger shrimp (Penaeus monodon) brood stock were divided into 6 treatments; shrimp were fed with diets without hormone; N=12), eyestalk-ablation shrimp were fed with diets without hormone (N=12), shrimp were fed with diets enhanced with 17-estradiol hormone at 10, 50, 100 and 500 mg/kg (N=16, 16, 16 and 8) respectively. The experiment have been performed for a period of 60 days and the samples were collected at day 35 and 60 for determinations of ovary, hepatopancreas and hemolymph.
The results showed that the average of GSI of eyestalk-ablation shrimp were fed with diets without hormone (1.78±0.65%) at day 35 was significantly higher than other groups (p<0.05). While, there was no significant different of the GSI in each experimental groups (p>0.05) at day 60. The protein levels in hemolymph were (16.07–314.55 mg/ml) higher than ovary (16.07–314.55 mg/ml) and hepatopancreas (0.92–8.79 mg/ml). Moreover, analysis total protein patterns by 10% polyacrylamide gel SDS-PAGE) in ovaries, hepatopancreas and hemolymph were found that the protein bands could be seen with 20 bands.
Studying the size of vitellin protein were analyzed by Western Blot method through using antibodies that specific to vitellin proteins of black tiger shrimp. The results at day 35 and 60 were found that the vitellin proteins sizes content were 13 and 15 respectively, which could be found the similarity of protein size were 200, 157, 130, 104, 74, 63, 58, 38 and 34 kDa. In addition, the transferring proteins of the semi-dry appeared on performed obviously protein bands more than those of appeared by wet tanks. The comparison of protein vitellin levels in the giant tiger shrimp cultured for 35 and 60 days with both methods, the results showed that the appearance and non-appearance of protein bands similarity were 89.32% and 94.44% respectively whereas the appearance of different protein bands were 10.68% and 5.56% respectively. However, the both methods appearance of protein bands similarity were 50% while Semi-dry analysis was appeared more protein bands than wet tanks at 46.67% and the wet tank analysis was appeared more protein bands than semi-dry at 3.33%. |
en |
dc.keyword |
เครื่องส่งถ่ายโปรตีน |
th_TH |