dc.contributor.author | กนกอร อินประเสริฐ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2023-01-13T07:41:04Z | |
dc.date.available | 2023-01-13T07:41:04Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5070 | |
dc.description | การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (peripheral line) เป็นการรักษาทางการแพทย์ในการให้สารละลาย สารอาหาร ยา เลือดและผลิตภัณฑ์ของเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาสมดุลเกลือแร่ บรรเทาพยาธิสภาพของโรค และฟื้นฟูสุขภาพให้สู่ภาวะปกติโดยเร็ว เป็นการรักษาที่พบมากในผู้ป่วยเกือบทุกราย การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย จึงเป็นกิจวัตร (routine) ที่พยาบาลปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ภาวะแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่สำคัญและพบบ่อย คือ หลอดเลือดดำอักเสบ (phlebitis) ความรุนแรงมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงมากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวม แดง ร้อน หรือเห็นหลอดเลือดดำเป็นลำแข็ง ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด หรืออาจส่งผลให้มีลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) ลิ่มเลือดอาจลอยไปอุดหลอดเลือดที่ปอดได้ (Pulmonary embolism) เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกัน ประเมิน ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายอย่างปลอดภัย พยาบาลจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบและแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบที่เกิดจากปัจจัยสาเหตุต่าง ๆ คู่มือนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับปัจจัย สาเหตุของหลอดเลือดดำอักเสบ การประเมินการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ และการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำให้ปลอดภัยจากการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ | th |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | หลอดเลือดดำ | th_TH |
dc.subject | การเจาะหลอดเลือดดำ | th_TH |
dc.subject | หลอดเลือดดำอักเสบอุดตัน | th_TH |
dc.title | แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและจัดการเมื่อเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ (Phlebitis) จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ | th_TH |
dc.type | Book | th_TH |
dc.author.email | kanokaron270@gmail.com | th_TH |
dc.year | 2565 | th_TH |