dc.contributor.author | โสมพิสุทธิ์ ลิ้มกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2023-01-09T11:14:19Z | |
dc.date.available | 2023-01-09T11:14:19Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5061 | |
dc.description | การให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาโรคมะเร็ง มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะ Extravasation หมายถึง การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วซึมของยาเคมีออกนอกหลอดเลือดดำ ซึ่งนับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีการทำลายของเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือดดำ อาจมีการลุกลามไปถึงเส้นเอ็น เส้นประสาท และอวัยวะต่าง ๆ ที่สัมผัสกับยาเคมีบำบัด โดยความรุนแรงของภาวะ Extravasation นั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของยาเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยที่ได้รับ หากเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัด และผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้า ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ผู้ป่วยต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพควรมีความรู้ รู้จักวิธีการป้องกัน เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นประเมินการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาเคมีบำบัดและรู้จักวิธีการจัดการเมื่อเกิดภาวะExtravasation จะเห็นได้ว่าพยาบาลวิชาชีพนั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเกิดภาวะ Extravasation ได้ โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการเตรียมให้ยาเคมีบำบัด คือการแทงเข็มในหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาเคมีบำบัด พยาบาลวิชาชีพควรให้ความสำคัญกับการแทงเข็มในหลอดเลือดดำเป็นอย่างมาก และควรมีการทดสอบตำแหน่งของเข็มให้ยาเคมีบำบัดทุกครั้งก่อนให้ยา และการบริหารยาเคมีบำบัดอย่างเหมาะสม รวมถึงการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องการไม่ให้เกิดภาวะ Extravasation และรู้จักการบริหารจัดการเมื่อเกิด ภาวะ Extravasation ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น | th |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | เคมีบำบัด | th_TH |
dc.subject | มะเร็ง - - เคมีบำบัด | th_TH |
dc.subject | โรคมะเร็ง | th_TH |
dc.title | การจัดการเมื่อยาเคมีบำบัดรั่วออกนอกหลอดเลือดดำ (Extravasation) ในผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | Book | th_TH |
dc.author.email | somphisut2615@gmail.com | th_TH |
dc.year | 2565 | th_TH |