dc.contributor.author | สมสมัย รัตนกรีฑากุล | th |
dc.contributor.author | ศิริพร ทูลศิริ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:51:52Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:51:52Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/495 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวที่มีบทบาทให้การดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์มากที่สุด ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต บันทึกเสียง จดบันทึก ให้รหัสข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึง กันยายน 2543 ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 16 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีบทบาทให้การดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัวมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 51 ปี ความสัมพันธ์เป็นมารดา ให้การดูแลในระยะที่มีอาการเอดส์เต็มขั้นมากที่สุด ระยะเวลาที่ให้การดูแลน้อยกว่า 3 ปี รูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ ในระยะที่ยังไม่ปรากฏอาการถึงระยะที่เริ่มปรากฏอาการ ได้แก่ ด้านร่างกาย เช่น การพาไปพบแพทย์เพื่อการรักษา การดูแลให้รับประทานยา อาหาร การดูแลตามอาการ ด้านจิตใจ ได้แก่การปลอบใจให้กำลังใจ ด้านสังคม ได้แก่ การออกค่าใช้จ่ายในการรักษา การดูแลบุตร และการรักษาความลับในครอบครัวและชุมชน ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งมีอาการและภาวะแทรกซ้อน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้น้อย การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแล ด้านร่างกาย ได้แก่ การพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น การทำความสะอาดร่างกาย การรับประทานอาหาร รับประทานยา เสื้อผ้า การดูแลตามอาการ เช่น การทำแผล ด้านจิตใจ เป็นการให้กำลังใจ ไม่รังเกียจไม่ทอดทิ้ง ด้านสังคม ได้แก่ การออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูและรับภาระเลี้ยงดูบุตรผู้ป่วย นอกจากผู้ดูแลแล้วสมาชิกในครอบครัวยังมีส่วนร่วมในการดูแลด้วย ตามแต่กิจกรรมและโอกาส ปัญหาและอุปสรรคในการดูแลของครอบครัว ได้แก่ภาระค่ารักษาค่าใช้จ่ายต่างๆ การเลี้ยงดูบุตรผู้ป่วยซึ่งเป็นภาระระยะยาวและขาดความรู้และทักษะในการดูแลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลตามอาการที่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมครอบครัวโดยการให้ความรู้ ฝึกอบรมทักษะเพื่อให้การดูแลผู้ป่วย ส่งเสริมศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ให้อยู่ร่วมกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดินปี 2542 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - การดูแล | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - ชลบุรี - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ | th_TH |
dc.title | รูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Family participation models for HIV and AIDS patient care in Chonburi province | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2545 | |
dc.description.abstractalternative | This study utilized a qualitative research design. The purpose was to explore model of family participation for HIV and AIDS patient care in Chonburi Province. The sample consisted of 16 HIV and AIDS patients’ family caregivers recruited using purposive sampling technique. Indept-interviewing, observation, tape record, and field-not were used to collect the data, during April – September 2000. Data coding and content analysis were performed to analyze the data. The results revealed that the majority of participants were females with age > 50 years old, patients’ mothers. Most of them took care the patients in Full Blown AIDS stage lesser than 3 years. The participants reported their patterns of caring In each stage, that was, in Asymptomatic and AIDS Related Complex stage, the participants took the patients to see doctors, gave medicine, arranged food, and offered a symptomatic care, In addition, they encouraged the patients and paid the money for medication and patients’ children. Also, they maintained confidentiality for patients’ HIV infection. For Full Blown AIDS stage, the participants took the patients to see doctors, offered total and partial care for patients’ daily living activities, gave psycho-social support. Moreover, the participants also participated in paying the money of treatment and taking care their children. Long-term of responsibility of payment, taking care patients’ children, and lake of knowledge and skills especially for Full Blown AIDS patient care. The findings suggest that family preparation focusing on teaching, training, guiding, and counseling of HIV and AIDS patient care may be a beneficial nursing intervention in this aggregate. As a result, the happiness of HIV and AIDS patients and their family might be enhanced. | en |