dc.contributor.author |
รมร แย้มประทุม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/467 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนโสตทัศนศึกษาจังหวัดชลบุรี อายุระหว่าง 11-16 ปี ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน ฉบับภาษาไทย ประกอบด้วยชุดประเมินพฤติกรรม 3 ชุดย่อย คือ ผู้ปกครองประเมิน ครูประเมิน และเด็กประเมินตนเอง เพื่อประเมินปัญหาพฤติกรรม 4 ด้านคือ ด้านอารมณ์ เกเรอยู่ไม่นิ่ง ความสัมพันธ์กับเพื่อน ส่วนจุดแข็งคือสัมพันธภาพทางสังคม กลุ่มประชากรที่ศึกษามีทั้งสิ้น 70 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ครบสมบูรณ์ ได้จำนวน 64 คน
ผลการศึกษาพบว่า เมื่อจัดกลุ่มคะแนนปัญหาพฤติกรรม ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ พฤติกรรมเกเร จำนวน 5 คน (ร้อยละ 7.8) จากชุดผู้ปกครองประเมิน พฤติกรรมด้านอารมณ์ จำนวน 5 คน (ร้อยละ 7.8) จากชุดครูประเมิน และพฤติกรรมความสัมพันธ์กับเพื่อน จำนวน 8 คน (ร้อยละ 12.5) จากชุดเด็กประเมินตนเมิน และถ้านำค่าเฉลี่ยของแต่ละปัญหามาจัดกลุ่มจากผู้ประเมินทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มปกติทั้งหมด การประเมินจากผู้ประเมินทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า การประเมินโดยครู มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเด็กประเมินตนเองเกือบทุกด้าน ยกเว้นพฤติกรรมด้านอารมณ์ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมพบว่า ปัจจัยอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัญหาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน และคะแนนรวมปัญหาพฤติกรรมในชุดเด็กประเมินตนเอง ปัจจัยเศรษฐานะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งในชุดผู้ปกครอง และครูประเมิน และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัญหาพฤติกรรมเกเร รวมทั้งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปัญหาพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคมในชุดครูประเมิน ปัจจัยเพศพบว่า เด็กผู้ชายมีค่าคะแนนปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งคะแนนรวมปัญหาพฤติกรรม และพฤติกรรมเกเรมากกว่าเด็กผู้หญิง ส่วนปัจจัยสภาพครอบครัว จากการประเมินโดยครูพบว่า สภาพครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างที่บิดามารดาแยกกันอยู่หรือเสียชีวิต มีค่าคะแนนปัญหาพฤติกรรมด้านอารมณ์มากกว่ากลุ่มที่บิดามารดาอยู่ด้วยกัน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบปัญหาพฤติกรรมหลายด้านจากการประเมินของผู้ปกครอง ครู และเด็กเอง และพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะผลสัมฤทธิทางการศึกษา สมควรที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กควรให้ความสนใจและป้องกันปัญหาต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2548 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การศึกษาพิเศษ - - การศึกษาและการสอน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.subject |
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน - - วิจัย |
th_TH |
dc.title |
ปัญหาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน |
th_TH |
dc.title.alternative |
Behavioral problems and factors affecting behavioral problems in deaf children |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2548 |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aimed to assess behavioral problems and factors affecting them in deaf children.
Methods: A cross-sectional analytic study, of 64 deaf children aged between 11-16 years studying at Mathayomsuksa level, Chonburi School for the Deaf were enrolled. The strengths and difficulties questionnaire (SDQ) Thai version was used to assess their behavior by parents, teacher and self-assessment in 5 categories: emotional, conduct, hyperactivity, peer problems and pro-social behavior. A Pearson's Product Moment coefficient, t-test and multiple regression analysis were used.
Results: We found the most common risk to be conduct problems from parent-rating, emotional and problems risk from teacher and self-assessment, respectively. Mean scores of each subscale from all informants were in normal group. Correlations between teacher and self-assessment showed significant positive effect on almost every problem subscale except for emotional problems. A child's age showed positive correlation with peer problems and total difficulties from self-assessment. Parent and teacher-rating indicated that parental income had positive correlation with hyperactivity. Income showed positive correlation with conduct problems and negative correlation with pro-social behavior only in teacher-rating. Boys showed higher scores in hyperactivity, total difficulties and conduct subscales than girls. Children with separated or dead parents scored higher in emotional problems than those whose parents still lived together. Of particular interest was the significant negative correlation between almost every behavioral problem and average academic test scores and Thai language test scores.
Conclusions: To assess behavioral problems in deaf children, we should collect data from all informants. Mean scores of each subscale from all informants were in normal group. Teacher-rating correlated with self-assessment more than parent-rating. Academic achievement was the outstanding factors that affect almost every behavioral problem in deaf children in this study. |
en |