DSpace Repository

โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author อัชฌวุฒิ เปลี่ยนสมัย
dc.contributor.author ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.author สถาพร พฤฑฒิกุล
dc.date.accessioned 2022-08-10T07:41:41Z
dc.date.available 2022-08-10T07:41:41Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.issn 2697-3863
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4660
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ และส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปร ทั้ง 6 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบ (factors loading) สูงกว่า .50, มีค่าความเชื่อมั่นของแต่ละองค์ประกอบ อยู่ระหว่าง .57 - .72 และผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (goodness of fit) กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้ Relative Chi-square = 1.55 , CFI = .98, NFI = .97, GFI = .93, AGFI = .91 และ RMSEA = .03 และมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงการพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 54 ( R2= .54 ) โดยมีค่าอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปัจจัยด้านบริบทของชุมชน ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริหารโรงเรียนและปัจจัยด้านครูและการจัดการเรียนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร th_TH
dc.subject การพัฒนาการศึกษา th_TH
dc.subject ประสิทธิผลองค์การ th_TH
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) th_TH
dc.title โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative A causal model of factors affecting schools effectiveness in secondary schools based on strategies of educational development plan in Eastern Economic Corridor th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 4 th_TH
dc.year 2565 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to develop and investigate a causal model of factors affecting school effectiveness in secondary schools based on the strategies of the educational development plan in the Eastern Economic Corridor (EEC). The samples consisted of the regional area administrators, supervisors, school administrators, teachers, school board committee members, and parents, and there were 400 in total. The sample was derived by stratified multistage random sampling. The research instruments were divided into two parts; part 1 was concerned with the basic data of the samples, and part 2 was a rating scale questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics, CFA, and SEM. The results found that the confirmatory components of all six variables had a factor loading higher than .50, and the reliability of each component was between .57 - .72. The results of the causal factor model analysis showed that the goodness of fit index was consistent with the empirical data as follows: Relative Chi-square = 1.55 , CFI = .98, NFI = .97, GFI = .93, AGFI = .91 and RMSEA = .03, and predictive coefficient accounted for 54 percent (R2 = .54).The influence of each factor affecting the effectiveness of secondary schools was sorted in descending order as follows: the social and community factor; administrator leadership factor; the administrator behavior factor; and the teacher–instructional factor, respectively. All were statistically significant (p<.01). th_TH
dc.journal e-Journal of Education Studies, Burapha University th_TH
dc.page 19-36. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account