Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย, เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น และเป็นแนวทางการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรเพศหญิงที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำนวน 75,673 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ จำนวน 385 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยทำการศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในระดับท้องถิ่น ทั้งหมด 5 ด้าน คือ ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง, ด้านการ เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง, ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชนท้องถิ่น, ด้านการติดต่อกับทางราชการ และด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (average), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), ค่าt-test และค่า F-test เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.23 ส่วนค่าเบี่ยงเลนมาตรฐาน 0.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด มี 1 ด้าน คือ ด้านการไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส่วนที่เหลือระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลของสตรีในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น โดยภาพรวม พบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันมีส่วนร่วมทาง การเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนรายได้ที่ต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย คือการพัฒนาด้านความรู้ทั่วไป เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ด้านประชาธิปไตย ด้านเจตคติ และด้านพฤติกรรม ให้กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีความรู้แบบประชาธิปไตย เจตคติและพฤติกรรมทางการเมือง แต่เนื่องจากสตรียังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควรจึงไม่กล้าแสดงบทบาทที่ตัวเองมีอยู่ ผู้วิจัยเห็นว่าเมื่อพัฒนาบทบาททั้งสามด้านอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะทำให้สตรีมีบทบาททางการเมือง และมีส่วนร่วมทางการเมืองมากยิ่งขึ้นไป