DSpace Repository

การจัดการความมั่นคงด้านสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ระเบียบ กิจเจริญ
dc.contributor.author อมรทิพย์ อมราภิบาล
dc.contributor.author อนุรัตน์ อนันทนาธร
dc.contributor.author ภัทรพงษ์ รัตนเสวี
dc.date.accessioned 2022-08-07T07:39:17Z
dc.date.available 2022-08-07T07:39:17Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.issn 1906-506X
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4630
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ 2) ศึกษาการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 3) ศึกษาสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ ฯ กับกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ 5) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ออกแบบวิจัยเชิงผสม ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 347 คน จากประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ ส่วนเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเก็บข้อมูล จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ F – Test และ Pearson – r ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลมีการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยให้บริการแบบมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 614 คน ซึ่งถือว่าจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด การที่ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุจำนวนไม่มากนักสาเหตุเนื่องจากกิจกรรมที่จัดให้ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการ รวมทั้งมีปัจจัยส่วนบุคคลเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ เช่น สุขภาพร่างกาย ค่าใช้จ่าย และการเดินทาง นอกจากนั้น เทศบาลยังมีการให้บริการให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ผ่านโครงการประจำต่างๆ ซึ่งเป็นบริการแบบไม่มีส่วนร่วม และพบว่าการให้บริการแบบมีส่วนร่วมส่งผลดีต่อสุขภาวะมากกว่าแบบไม่มีส่วนร่วม 2) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความเห็นว่าเทศบาลมีการจัดการ ฯ อยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุเห็นว่าการจัดการยังมีอุปสรรคปัญหาของการเข้าถึงและการใช้บริการอยู่บ้าง 3) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับดี ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าผู้เป็นสมาชิกชมรมมีสุขภาพดีกว่าผู้ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญ 4) การจัดการ ฯ สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างสูงในทิศทางบวก 5) งานวิจัยมีข้อเสนอแนะต่อเทศบาลว่าควร a) ให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นวางแผนซึ่งจะทำให้ได้กิจกรรมตรงความต้องการผู้ใช้บริการเพื่อจะได้จูงใจให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรม ฯ มากขึ้น b) มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง c) เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ d) นำสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยมาให้บริการ โดยมีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี และ e) การอำนายความสะดวกในด้านการเดินทางของผู้สูงอายุ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject บริการสาธารณะ th_TH
dc.subject สุขภาวะ th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ th_TH
dc.title การจัดการความมั่นคงด้านสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Elderly health security management in Nong Prue municipality, Banglamong district, Chonburi th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 1 th_TH
dc.volume 13 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this research aims 1) to study the context of health care management of the elderly in Nong Prue Municipality, 2) to study the health care management for elderly, 3) to explore the elderly’s health, 4) to examine relationship between the management and the elderly’s health, and 5) to provide the recommendations to improve the effective health care management to the elderly people. The research design adopted the mixed method: quantitative and qualitative. The questionnaire were used to collect quantitative data from 347 samples drawn from the elderly population. The qualitative approach applied semi-structured interviews guideline with 16 key informants. The quantitative analysis adopted descriptive and inference statistics: mean, standard deviation, percentage, F- Test and Pearson-r. The content analysis technique was applied for the qualitative data. The result of the study revealed; 1) the municipality provides the participatory service management for elderly through activities of elderly club which has currently engaged only a small number of 614 members when compared to the totality of elderly population. The reasons for that was the activities of the club not fit the seniors’ need and some individual factors prevent them from accessibility to the services, for example, the physical health, the transportation, and the expenses, etc. The municipality also provided the non-participatory services for elderly in the area through various routine programs. It finding showed that the participatory service has more actively affected on health than the non-participatory activities; 2) according to the perspectives of the elderly club’s member, the municipality’s health care service management has a very good level. However, the elderly mentioned some obstacles in services’ accessibility; 3) the elderly club’s members were in good health while the non-members had moderately health outcomes. The comparative analysis showed that the club’s members had significantly better health outcomes than those who are not members; 4) the health care service management had high positive correlation with the elderly health; 5) the research recommendation for improving the effective management were; a) increasing participation of service utilizer, especially in the initial planning stage, which can motivate those in needed to engage activities as club’s members, b) continuously monitoring, c) increasing the sufficient staffs, d) maintaining and providing the modern service equipment and, e) facilitating the travelling for the elderly people. th_TH
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย th_TH
dc.page 97-116. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account