dc.contributor.author |
วัลลภา พ่วงขำ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/462 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสาเหตุ ปัจจัยเสริม กิจกรรมการดูแล และผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ทั้งในผู้สูงอายุที่มีและไม่มีการใส่อุปกรณ์เข้าสู่ร่างกายหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ดูแลกับบุคลากรทางสุขภาพ ในการสร้างรูปแบบการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่เหมาะสมกับชุมชน โดยการศึกษาตามแนวทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มในบทบาทของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การตรวจสุขภาพ ประเมินและวิเคราะห์ความเครียด ความพึงพอใจ พร้อมไปกับการเยี่ยมบ้านกลุ่มตัวอย่าง ในผู้สูงอายุที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว จํานวน 8 คน
ผู้ดูแลจํานวน 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นจํานวนความถี่ ข้อมูลเชิงคุณภาพนํามาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนําเสนอเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่เกี่ยวกับการติดเชื้อที่บ้าน คือ การได้รับยา การสอดใส่อุปกรณ์การแพทย์เข้าสู่ร่างกายเพื่อการรักษา การเจ็บป่วยของบุคคลในบ้าน และปัจจัยเสริมที่มีผลต่อการปฏิบัติกิจกรรมป้องกันการติดเชื้อได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความสามารถผู้สูงอายุและประเภทผู้ดูแล การศึกษาวิจัยนี้ทําให้ได้รูปแบบกิจกรรมหลักที่สําคัญในการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลที่บ้านในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้และมีผู้ดูแลที่เป็นญาติ จํานวน 8 กิจกรรม คือ การให้ความรู้และการแนะนําเกี่ยวกับโรค การใช้ยา การดูแลเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ การป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร การล้างมือ การทําลายเชื้อและการซักผ้าเปื้อน สําหรับรูปแบบกิจกรรมที่สําคัญในการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลที่บ้านในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และมีผู้ดูแลที่เป็นลูกจ้างที่ดูแลอย่างเป็นทางการ ควรเพิ่มอีก 9 กิจกรรม คือ การป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและแผลกดทับ
การป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ การป้องกันการติดเชื้อที่ตา และช่องปาก การจัดสถานที่แยกห้องผู้สูงอายุ การสวมถุงมือ การควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกและการดูแลสุขภาพผู้ดูแล
ผู้สูงอายุที่บ้าน และผลลัพธ์จากการดูแลป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพที่บ้านในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่บ้าน จํานวน 3 คน มีความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติและมีความพึงพอใจต่อการบริการการดูแลสุขภาพที่บ้านในระดับมาก
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าควรจะมีการกําหนดนโยบายทั้งในระดับกระทรวงสาธารณสุข และสถานบันต่าง ๆ ให้มีการฝึกอบรมพยาบาลและผู้ดูแลที่บ้านให้นํารูปแบบกิจกรรมที่สําคัญในการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลที่บ้านในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้นําไปปฏิบัติให้มากขึ้น การนําไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทําคู่มือและแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาดูแลที่บ้าน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2548 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การติดเชื้อ |
th_TH |
dc.subject |
จุลชีววิทยาทางการแพทย์ |
th_TH |
dc.subject |
โรคติดต่อ - - การป้องกันและควบคุม |
th_TH |
dc.subject |
สูงอายุ - - การดูแล |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of infections preventive strategies from home health care provided to the elderly persons living in Seansook subdistrit of amphur muang Chonburi |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2549 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research study were to evaluate causes of home health associated infection, reinforcing factors, caring activities and outcomes of Preventive strategies against infections from the home health care provided to the elderly persons. The study elderly persons included those who were with or without invasive medical equipments onto the body or the high risk group personnel. To develop cooperative learning among family, caregivers and health personnel, this research aimed to construct appropriate model for home-health associated infections preventive strategies for home health care givers. By using Orem’ Nursing theory qualitative methods were employed, including in-depth interviewing, participant observations through home visiting activities and physical examination. The elderly persons were also tested for stress and satisfaction on the given home health care. There were eight elderly persons and eight caregivers included in this research study. Data were analyzed by means of number. Content analysis was employed to analyzed the qualitative data from the in-depth interviewing, and participant observations during the home visit to the elderly persons.
Findings indicated that important causes of home health-associated infections were related to received medication, invasive medical equipment onto the body and having illed-person in a family. Re-inforcing factors were related to economic condition, an capabilities of elderly persons, types of the caregivers. The results suggested eight major preventive strategies against the home health-associated infaction. These included: 1) provision of knowledge and advice relevant to an elderly’s health problems; 2) provision of advice on the received medication; 3) provision of care to surveillance; 4) preventive strategies against urinary tract infection; 5) preventive strategies against gastrointestinal infection;
6) Handwashing technique; 7) disinfection methods; and 8) cleaning methods for contaminated clothes. There were nine additional preventive strategies for home health caregivers, namely: 1) preventive strategies against skin infections and pressure sore; 2) preventive strategies against respiratory tract infection; 3) preventive strategies against eye and oral cavity infection; 4) setting for and elderly isolation room; 5) gloving technique; 6) preventive control of environmental condition; 7) mask protective technique; 8) health care for caregivers and health personnel; and 9) waste management.
Finally outcomes of the home health care provided to the study elderly persons to prevent infections indicated that home health-associate infection. This elderly group had nosohousial infections three persons. They also indicated minimal stress and high satisfaction on the home health care.
Findings from this research study have policy implications for both the policy makers of the Ministry of Public Health and for the training institutions for nurses and home-health care givers. |
en |