DSpace Repository

การพัฒนากระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองเพื่อใช้กับแผลผ่าตัดผู้ป่วย

Show simple item record

dc.contributor.author ลัดดา วิทยประภารัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/461
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้กระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองกับแผลผ่าตัด ในด้านความสามารถในการดูดสิ่งคัดหลั่งจากแผลผ่าตัด และไม่ทำให้แผลผ่าตัดติดเชื้อ โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว กลุ่มตัวอย่างเป้นผู้ที่ได้รับการรักษา ด้วยวิธีการผ่าตัด ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบุรพา ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลอ่าวอุดม ระหว่างเดือนกันยายน 2546 ถึงเดือนธันวาคม 2546 ในผู้ป่วยที่มีขนาดแผลผ่าตัดไม่เกิน 12 เซนติเมตร หรือ 5 นิ้ว ผิวหนังหรือบาดแผลบริเวณที่จะทำผ่าตัดเป็นผิวหนังหรือบาดแผลที่ไม่มีลักษณะของการติดเชื้อ ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อ และยินดีให้ความร่วมมือ จำนวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการใช้กระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองกับแผลผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองมีประสิทธิผลในการดูดสิ่งคัดหลั่งจากแผลผ่าตัดอยู่ในระหว่าง 3-50 มิลลิลิตร (ซีซี) เฉลี่ย21.53 มิลลิลิตร (ซีซี) และไม่ทำให้แผลผ่าตัดติดเชื้อ ซึ่งพบว่าได้ผลเช่นเดียวกันกับงานวิจัยที่ผ่านมา และการใช้ขวดสุญญากาศที่สั่งซื้อจากบริษัท th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินรายได้ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2546. en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การดูแลหลังศัลยกรรม th_TH
dc.subject การติดเชื้อ th_TH
dc.subject ศัลยกรรม th_TH
dc.subject เวชภัณฑ์ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนากระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองเพื่อใช้กับแผลผ่าตัดผู้ป่วย th_TH
dc.title.alternative The development of hand-made vacuum drain for surgical wound en
dc.type Research
dc.year 2546
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the effectiveness of the Hand-made Vacuum Drain for surgical wound and the surgical wound infection. A Quasi-experimental One-Group Posttest-Only Design was used. The sample composed of the patients who received surgery from Health Science Center, Burapha University; HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Srinakharinwirot University; Queen Sawangwattana Medical Hospital (Somdej Memorial Hospital) and Ao-Udom Hospital during September, 2003 to December, 2003. 30 patients were included in which surgical wound is shorter than 12 cm. (5 inch) with normal skin and clean wound the patients had no communicable disease and accepted the in from consent. The Hand-made Vacuum Drain Record forms were used to collect data. The data was analyzed by using frequency, percentage, average and standard divination. The finding is that The Hand-made Vacuum Drain can suct the secretion with lange of 3-50 cc., (21.53 cc. in average) and no infection at surgical wound. The results reveal the efficiency of this drain as the past research and the commercial Redivac Drain. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account