Abstract:
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการบริหารและการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถเพิ่มผลผลิตและ
รักษาพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กรได้ในระยะยาว โดยการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถ
เรียนรู้ได้ดังต่อไปนี้ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence) หรือการมีคุณลักษณะพิเศษ (Charisma) ที่มีอุดมการณ์ มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการบริหารอารมณ์และมีจริยธรรม 2) การสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ (Inspirational motivation) เป็นการสร้างจากแรงจูงใจภายใน เช่น การสร้างที่ก่อให้เกิดทัศนคติในเชิงบวกและการกระตุ้นจิตวิญญาณของทีม (Team Spirit) ให้มีชีวิตชีวา 3) การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) คือการที่ผูผู้นำกระตุ้นผู้ตามให้คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรและหน่วยงาน ทำให้ผู้ตามเกิดความต้องการในการหาแนวทางใหม่มาแก้ปัญหา โดยหาข้อสรุปที่ดีกว่าเดิมเพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่และสร้างสรรค์ 4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized consideration ) ผู้นำจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในฐานะเป็นผู้นำในการดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคลและทำให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่าและมีความสำคัญ ผู้นำจะทำหน้าที่เป็นโค๊ช (Coach) และเป็นที่ปรึกษา (Advisor) เพื่อการพัฒนาผู้ตาม กล่าวโดยสรุปได้ว่า การเป็นผู้นำที่ดีต้องรู้จักเสียสละ รับฟังความคิดเห็นของผู้ตาม ตลอดจนการทำตนใหเ้ป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อให้ผู้ตามเชื่อฟังและปฏิบัติงานตามที่ผู้นำสั่ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะสามารถทำให้พนักงานสามารถผลิตสินค้าและการบริการ ที่มีคุณภาพต้นทุนต่ำและส่งมอบทันเวลา ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ (Bass, 1985 อ้างถึงโดย โสภณ ภูเก้าล้วน, 2555) ผู้ตามสามารถพัฒนาเพื่อขึ้นเป็นผู้นำได้โดยผู้ตามที่มีประสิทธิภาพสูงจะสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร ควรมีคุณลักษณะดังนี้ 1) สามารถคิดและทำการวางแผนบริหารจัดการตนเองได้โดยมองว่าตนเองมีความสามารถในการจัดการได้เท่าเทียมผู้นำเช่นกัน 2) ทำงานด้วยความมุ่งมั่น และยึดมั่นเพื่อเป้าหมายสูงสุดขององค์กร หากพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานก็จะพิจารณาปรับเปลี่ยนแนวทางทำงานหรือขอปรับเปลี่ยนผู้นำ 3) เสริมสร้างความแข็งแกร่งและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้วยการขวนขวายเรียนรู้ฝึกฝนทักษะความชำนาญ มองหางานรับผิดชอบพิเศษเพิ่มเติมด้วยความยินดีและมีความรับผดิชอบต่องานนั้น ๆ 4) มีความกล้าแสดงออก เสี่ยงที่จะคิดจะพูดและทำ แม้ว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดได้จาการเสี่ยงน้ัน ทำ ให้ผู้นำและผู้ค้นในองค์กรมอบความมั่นใจไว้วางใจและเชื่อถือ (วรางคณา กาญจนพาที. 2556, หน้า 46) ในส่วนของความสัมพนัธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามพบว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในการที่จะรักษาพนักงานคุณภาพให้อยู่กับองคก์รนาน ๆ นั้น มีปัจจยัเชิงนโยบายที่สามารถผลักดันและสร้างวัฒนธรรมองคก์รให้พนักงานทุกคนได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเช่นการจัดการระบบคุณภาพทั่วทั้งองค์กรการจัดทำ ยุทธศาสตร์ขององค์กรการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาองคก์รในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเป็นองคก์รแห่งการเรียนรู้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์สู่การพัฒนาผู้นำกับผู้ตามจากองค์กรที่ได้รับรางวัล TQA (Thailand Quality Award) และองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดีใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เก็บข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนไทย และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) โดยการนำตัวแปรสำคัญ ของแต่ละองค์กร มาสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อทำแบบสอบถาม และใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ในการแปลค่าความหมายต่าง ๆ และทำการยืนยันผลการวิจัยด้วยการประชุมกลุ่ม (focus Group)