dc.contributor.author |
เอกนาจ นกเม้า |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/460 |
|
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์
ศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงกับแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบ
วิธีดําเนินการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบการทดลองเป็นแบบหนึ่งกลุ่มวัดครั้งเดียว การวิจัยแบ่ง
ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การพัฒนาแผ่นนําไฟฟ้าโดยวิธีการดัดแปลงแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบ(ชนิดใช้แล้ว
ทิ้ง) และส่วนที่ 2 เป็นการทดลองประสิทธิภาพแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงโดยการเปรียบเทียบการใช้แผ่นนําไฟฟ้า
ดัดแปลงและแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบจากการใช้งานจริงกับผู้ป่วย ในการดัดแปลงแผ่นนําไฟฟ้าผู้วิจัยใช้
ส่วนประกอบแผ่นนําไฟฟ้าชนิดใช้แล้วทิ้งที่นํากลับมาใช้ใหม่ (reuse) ได้แก่ หัวกระดุมโลหะเงินผิวด้านล่าง
เครือบด้วยซิลเวอร์คลอไรด์ แผ่นฟองน้ําสําหรับใส่ครีมนําไฟฟ้า แผ่นกระดาษมันสําหรับปิดผ้ากาวพร้อมวง
พลาสติก ส่วนประกอบที่ต้องเปลี่ยนใหม่คือแผ่นผ้ากาวเหนียวสําหรับยึดติดผิวหนัง สติ๊กเกอร์โพลีไวนิลครอ-
ไลด์ ใช้แทนแผ่นสติ๊กเกอร์สําหรับยึดหัวกระดุมโลหะเงิน ครีมนําไฟฟ้าที่มีส่วนผสมกับสารละลาย 0.9%
โซเดียมครอไรด์ ตรวจสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าจากการหาค่าความต้านทานแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงด้วย
เครื่อง LCR meter 4284A ตั้งค่า level 1.0 v. ที่ความถี่ 1 kHz.
ได้ค่าความต้านทานเฉลี่ยของแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงเท่ากับ 90.05 โอห์ม ใกล้เคียงกับแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบ
92.77 โอห์ม และทําการศึกษานําร่อง (Pilot study) ในอาสาสมัครร่างกายแข็งแรง ทั้งชายและหญิงจํานวน
10 คน ผลการศึกษาเบื้องต้นอาสาสมัครทั้งหมดไม่มีอาการข้างเคียงจากการใช้แผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลง
การบันทึกและวัดค่าส่วนประกอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ส่วนการเปรียบเทียบ
การใช้แผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงและแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบจากการใช้งานจริงกับผู้ป่วย ผู้วิจัยกําหนดกลุ่มตัวอย่าง
เป็นผู้มารับบริการผ่าตัดทั้งแบบนัดผ่าตัดล่วงหน้าและผ่าตัดฉุกเฉินที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วน
และยาสลบทั่วไป ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อายุ 20 ปีขึ้นไป และยินยอมเข้าร่วมการ
วิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จํานวน 35 ราย และมี ASA physical status I-II เฝ้าระวังและบันทึก
คลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย lead II หลังได้รับยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการบันทึกคลื่น ไฟฟ้าหัวใจจาก
แผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบก่อนเพื่อเป็นรูปคลื่นมาตรฐาน แล้วจึงบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลง
จากนั้นนํามาเปรียบเทียบกันโดยใช้รูปคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บันทึกได้จากแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบเป็นรูปคลื่น
มาตรฐานมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ประเมินเฉพาะความเหมือนของส่วนประกอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 10 ส่วน
ได้แก่ P wave, Q wave, R wave, S wave, T wave, U wave, ST segment, PR interval, QRS
interval และ QT interval นําข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับ
คุณภาพแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงกับแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบ โดยการใช้สถิติทดสอบ one sample t-test
ผลการวิจัย
ผลการศึกษาระดับคุณภาพของแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงพบว่า แผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงมีระดับคุณภาพ
อยู่ระหว่าง 8 – 10 ซึ่งส่วนมากร้อยละ 94.29 มีระดับคุณภาพ 9 และ 10 ร้อยละ 5.71 มีระดับคุณภาพ 8
เมื่อวิเคราะห์ตามส่วนประกอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบว่าส่วนประกอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนใหญ่ 8 ส่วน
ได้แก่ P wave, Q wave, S wave, U wave, ST segment, PR interval, QRS interval และ QT interval
ที่บันทึกจากแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงและแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบมีขนาด รูปร่าง และทิศทางไม่แตกต่างกัน มี
ส่วนประกอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 2 ส่วนที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ R wave และ T wave ซึ่งพบว่ามีรูปร่างและ
ทิศทางเหมือนกัน แต่มีขนาดที่แตกต่างกัน โดยพบว่าความสูงเฉลี่ยของ R wave และ T wave ที่บันทึกจาก
แผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงจะต่ํากว่าแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบเล็กน้อย ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยระดับ
คุณภาพของแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงกับเกณฑ์คุณภาพที่ยอมรับได้ โดยกําหนดเกณฑ์ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ที่
ระดับ 9 ขึ้นไป พบว่าค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพจากแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงทั้ง 35 ราย มีค่าเท่ากับ 9.37 (SD =
0.59) มากกว่าเกณฑ์ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ที่กําหนดไว้ เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบ one sample
t-test พบว่าระดับคุณภาพของแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงมากกว่าเกณฑ์ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้อย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบในกรณีที่นํากลับมาดัดแปลงใช้
ครั้งแรก และสามารถนํามาใช้แทนกันได้ในการเฝ้าระวังคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยในขณะผ่าตัด เป็นการหมุนเวียน
วัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดขยะทางการแพทย์และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้หน่วยงานได้
ข้อเสนอแนะ
1. หน่วยงานควรส่งเสริมให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเห็นความสําคัญและนําแผ่นนําไฟฟ้ามาใช้งานจริงเนื่องจาก
สามารถใช้งานได้เหมือนแผ่นนําไฟฟ้าต้นแบบและมีราคาต้นทุนการดัดแปลงเพียง 3.1 บาท ต่ํากว่าแผ่นนํา
ไฟฟ้าต้นแบบที่มีราคา 18.19 บาท ถึง 5.8 เท่า
2. การนําอุปกรณ์หรือวัสดุกลับมาใช้ใหม่ควรคํานึงถึงการปราศจากเชื้ออย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล
3. หน่วยงานควรมีนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการสร้างและใช้นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทางการ
แพทย์ โดยเฉพาะที่ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและหน่วยงานต่อไป
4. ควรมีการศึกษาความเหมาะสมของอายุการเก็บรักษาแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงโดยที่ยังสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ(แสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ชัดเจนตามปกติ) และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงที่นํากลับมาใช้ใหม่เป็นครั้งแรกและที่นํากลับมาใช้มากกว่า 1 ครั้ง
การนําไปใช้ประโยชน์
ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนําแผ่นนําไฟฟ้าดัดแปลงมาใช้กับผู้ป่วยในขณะผ่าตัดทดแทนของที่สั่งซื้อจากบริษัท ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงาน ลดขยะมูลฝอยที่เกิดจากการให้บริการทางการแพทย์และเป็นแบบบอย่างในการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2549 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ |
th_TH |
dc.subject |
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.subject |
หัวใจ - - โรค - - การวินิจฉัย |
th_TH |
dc.title |
การดัดแปลงแผ่นนำไฟฟ้าชนิดใช้แล้วทิ้งกลับมาใช้เฝ้าระวังคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยในขณะผ่าตัด |
th_TH |
dc.title.alternative |
Disposable electrode adaptation for electrocardiogram monitoring in peri-operative patient |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2549 |
|