Abstract:
บทความนี้เป็นบทความจากการวิจัยเชิงเอกสาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเชิงคุณภาพในหัวข้อการกำหนดและการนำไปสู่การปฏิบัติของนโยบายสังคมพหุวัฒ นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีวัตถุประสงคใ์นการวิจัยที่เกี่ยวข้องคือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการในการกำหนดนโยบายสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการในการนำไปสู่การปฏิบัติของนโยบายสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้บทความได้นำ เสนอถึงนิยามของคำว่า สังคมพหุวัฒนธรรมอันมีความหลากหลาย ซึ่งความหมายโดยรวมนั้นหมายถึงสังคมที่อยู่ร่วมกันภายใต้วัฒนธรรมอันมีความหลากหลายแตกต่างกันลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรมนั้น มีทั้งในแบบที่เป็นพหุวัฒนธรรมนิยมแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative Multiculturalism) พหุวัฒนธรรมนิยมแบบเสรีนิยม (Liberal Multiculturalism) พหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ (Critical Multiculturalism) โดยมีตัวแบบการใช้สังคมพหุวัฒนธรรมในลักษณะต่าง ๆ หลากหลายประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศมาเลเซีย และแม้แต่องค์กรนานาชาติอย่างประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้รัฐบาลไทยก็ได้ทำการกำหนดนโยบายสังคมพหุวัฒนธรรมรวมถึงการนำไปสู่การปฏิบัติด้วยเช่นกัน