Abstract:
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความคืบหน้า
วัตถุประสงค์ : 1. เปรียบเทียบผลการมองเห็นหลังทําผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้เครื่องสลายต้อกระจก และการผ่าตัดต้อกระจกแบบผ่าเย็บแผล
2. ศึกษาภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้เครื่องสลายต้อกระจกและการผ่าตัดต้อกระจกแบบผ่าเย็บแผล
ประชากร: ผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2548 อายุระหว่าง 40 - 80 ปี ไม่มีโรคทางตาที่มีผลต่อการมองเห็น จํานวน 92 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 จํานวน 46 รายผ่าตัดโดยวิธีผ่าตัดเย็บแผลและกลุ่มที่ 2 จํานวน 46 ราย ผ่าตัดโดยใช้เครื่องสลายต้อกระจก
วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้รับการผ่าตัดโดยแพทย์คนเดียวกัน วิธีการเตรียมผู้ป่วย การใช้ยาชาชนิดฉีด การดูแลภายหลัง
การผ่าตัดและระยะเวลาการติดตามผลเช่นเดียวกัน คือ 1 สัปดาห์, 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันเฉพาะวิธีการผ่าตัด โดยใช้สถิติวิจัยข้อมูลทั่วไปใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบค่าไคสแคว์ การเปรียบเทียบการมองเห็นหลังการผ่าตัด
แต่ละช่วงเวลาใช้สถิติความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) วิเคราะห์อัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดด้วยสถิติพรรณนา
ผลการวิจัย : 1. ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 71-80 ปี ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในผู้ป่วยที่ผ่าตัดทั้ง 2 วิธี
2. ผลการมองเห็นหลังผ่าตัดทั้ง 2 วิธีในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ 1 เดือนและ 3 เดือนไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ที่นัยสําคัญ.05 (F=3.356, p=.07; F=1.720, p=.193; F=1.610, p=.208 ตามลําดับ)
3. เมื่อติดตาม 3 เดือนหลังผ่าตัดพบว่า ผลการมองเห็นเพิ่มขึ้น ≥ 2 แถว หลังผ่าตัดพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทางสถิติในผู้ป่วยผ่าตัดทั้ง 2 วิธี
4. ผลการมองเห็นหลังผ่าตัดตั้งแต่ 0.3 logMAR (20/40) พบว่าการผ่าตัดชนิดใช้ เครื่องสลายต้อกระจกดีกว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
5. ผลการศึกษาภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจกพบว่าการผ่าตัดชนิดเย็บแผลมีแผลแยกร้อยละ 2.17 และกระจกตาแห้งร้อยละ 4.34 ส่วนการผ่าตัดชนิดใช้เครื่องสลายต้อกระจกพบว่ามีม่านตาอักเสบร้อยละ 4.34 และถุงหุ้มเลนส์ขุ่นร้อยละ 2.17
สรุปผลการวิจัย: การผ่าตัดต้อกระจกชนิดใช้เครื่องสลายต้อกระจกดีกว่าการผ่าตัดชนิดเย็บแผลการมองเห็นหลังผ่าตัดที่มากกว่าหรือเท่ากับ 20/40 (0.3logMAR) ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้ง 2 กลุ่มมีอัตราการเกิดน้อยและไม่รุนแรง ซึ่งถือว่าปลอดภัยสําหรับการผ่าตัดต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาทั้ง 2 วิธี