Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 453 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุมิ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 20.84 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 69.30 ภูมิลำเนาเดิมส่วนใหญ่เป็นภาคตะวันออก ร้อยละ 39.50 อาศัยอยู่กับบิดามารดา ร้อยละ 69.30 พื้นฐานครอบครัวส่วนใหญ่บิดามารดาอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 79.70 ผู้อุปการะเลี้ยงดูส่วนใหญ่บิดามารดาอุปการะ ร้อยละ 80.40 รายรับต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาท ร้อยละ 43.05 รายจ่ายต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาท ร้อยละ 51.20 เมื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ พบว่า เพศ การอยู่ร่วมกับครอบครัว รายจ่าย และความรู้ มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอัตราการสูบบุหรี่ ร้อยละ 9.27 และมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ได้แก่ สาเหตุที่เริ่มสูบบุหรี่อยากทดลองสูบ ร้อยละ 45.24 รองมามีความเครียดวิตกกังวล ร้อยละ 33.33 ความถี่ในการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่สูบทุกวัน จำนวนบุหรี่ที่สูบเฉลี่ยต่อวันส่วนใหญ่ 2-5 มวน ร้อยละ 45.23 ค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่น้อยกว่า 100 บาทต่อเดือนร้อยละ 35.71 แหล่งของบุหรี่ที่ได้มาส่วนใหญ่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 61.90 และส่วนใหญ่สูบแบบไม่มียี่ห้อ ร้อยละ 38.10 โอกาสในการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่คือ เมื่อไปเที่ยวกลางคืน/ ดื่มสุรา ร้อยละ 35.90 สถานที่ที่ท่านมักจะสูบบุหรี่ส่วนใหญ่คือ สถานบันเทิง ร้อยละ 35.90 ส่วนด้านความคิดเห็น พบว่า การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ร้อยละ 83.33 และเห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อคนรอบข้าง ร้อยละ 76.19