DSpace Repository

การศึกษาความชุกของเชื้อรา Cryptococcus neoformans จากมูลนกพิราบในบางแสน จังหวัดชลบุรี ด้วยเทคนิค MALDI-TOF Mass Spectrometry

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐภาณินี ถนอมศรีเดชชัย
dc.contributor.author ศุภลักษณ์ สุมาลี
dc.contributor.author ศิริวัฒณา ลาภหลาย
dc.contributor.author พิมรา ทองแสง
dc.contributor.author รุ่งนภา นวลมะลัง
dc.contributor.author อภิญญา บุญเขียน
dc.contributor.author มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร
dc.date.accessioned 2022-07-28T10:33:16Z
dc.date.available 2022-07-28T10:33:16Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4570
dc.description.abstract เชื้อ Cryptococcus neoformans เป็นเชื้อราฉวยโอกาสที่ก่อโรค cryptococcosis ในมนุษย์ มักพบได้ในมูลนกธรรมชาติ เช่น นกพิราบ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความชุกของเชื้อราชนิดนี้ โดยทำการเก็บมูลนกพิราบ จำนวน 300 ตัวอย่าง นำมาตรวจหาเชื้อโดยเพาะเลี้ยงบน Sabouraud Dextrose Agar (SDA) ที่ใส่ยา Chloramphenicol ทำการสุ่มเขี่ยเชื้อที่คาดว่าจะเป็น Cryptococcus spp. ซึ่งสามารถคัดแยกเชื้อได้ 136 ไอโซเลท และทำการทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมี ได้แก่ การสร้างเอนไซม์ยูรีเอส การสร้างเอนไซม์ฟีนอลออกซีเดส และการสร้างแคปซูล จากการทดลองพบว่ามี 27 ไอโซเลท ที่คาดว่าจะเป็นเชื้อ C. neoformans จึงทำการวิเคราะห์ตัวอย่างดังกล่าวด้วยวิธี Matrix-assisted laser desorption ionization-time of flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS) เพื่อยืนยันผลการทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมี ผลที่ได้พบว่าเชื้อทั้ง 27 ไอโซเลท เป็นเชื้อ C. neoformans คิดเป็นร้อยละ 9 ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความชุกของเชื้อ C. neoformans ในมูลนกพิราบ และเป็นฐานข้อมูลทางด้านระบาดวิทยาในการปนเปื้อนของเชื้อราในสิ่งแวดล้อม ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่ายังควรส่งเสริมให้มีการจัดการสุขาภิบาลในการกำจัดมูลนกพิราบ เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ C. neoformans อีกทั้งในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยยังพบเชื้อราชนิดอื่นๆ ที่ปนเปื้อนในมูลนกพิราบ เช่น Lodderomyces spp. ซึ่งมีรายงานการก่อโรคในมนุษย์ด้วยเหตุนี้ทางผู้วิจัยจึงดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เชื้อราคริปโตคอคคัสนีโอฟอร์แมนส์ th_TH
dc.subject นกพิราบ -- มูล th_TH
dc.subject เชื้อรา th_TH
dc.subject แมสสเปกโทรเมตรี th_TH
dc.title การศึกษาความชุกของเชื้อรา Cryptococcus neoformans จากมูลนกพิราบในบางแสน จังหวัดชลบุรี ด้วยเทคนิค MALDI-TOF Mass Spectrometry th_TH
dc.title.alternative Prevalence of Cryptococcus neoformans from pigeon droppings in Bangsean, Chon Buri by MALDI-TOF mass spectrometry technique th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 16 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Cryptococcus neoformans is an opportunistic human pathogenic yeast that causes cryptococcosis. It’s often founded in natural birds dropping such as pigeon. Therefore, lead to the objective to study the prevalence of C. neoformans. Diagnostic testing was performed by collected 300 samples and cultured in Sabouraud’s dextrose agar medium containing 0.4 g/L Chloramphenicol, colony randomly that were expected to be Cryptococcus spp. The candidate yeast 136 isolates were separated and examined biochemical reaction such as capabilities to produce enzyme urease, phenol oxidase and capsule. The results shown that 27 isolates were assumed to be C. neoformans. Then confirm species of each isolates with Matrix-assisted laser desorption ionization time-of-flight mass spectrometry. The ratio of C. neoformans is 9 percent of 300 Isolates. The results from this study presence the prevalence of C. neoformans from pigeon dropping and database in epidemiology of contamination of fungi in environment. This indicates that the sanitary management of pigeon droppings should be promoted as a guideline for the control and prevention of C. neoformans infection. Furthermore, in this study the researchers also found other fungi contaminate pigeon droppings such as Lodderomyces spp., which has been reported to cause disease in humans. The researcher is continuing further studies. th_TH
dc.journal วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.page 41-52. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account