DSpace Repository

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการ แนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.author ศิรารัตน์ ปิงเมือง
dc.contributor.author จันทร์พร พรหมมาศ
dc.contributor.author เด่นชัย ปราบจันดี
dc.date.accessioned 2022-07-27T03:18:58Z
dc.date.available 2022-07-27T03:18:58Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4567
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยมี 5 ระยะ ตามแนว ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้เป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่ภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่นและผสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยองค์ประกอบหลักของกระบวนการเรียนการสอน มีความสอดคล้องตามแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ที่บูรณาการร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม โดยขั้นการจัดการเรียนการสอนที่เรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาค้นคว้า มุ่งใช้กลุ่มขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความสนใจของนักเรียน และการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่ออ่าน และวิเคราะห์วรรณกรรมที่สนใจ ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด มุ่งให้มีการเสริมต่อการเรียนรู้จากครู โดยอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดและสรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษา และได้ความรู้เพิ่มเติมจากครู และขั้นสร้างความคิดรวบยอด มุ่งให้นักเรียนนำเสนอผลในรูปแบบต่าง ๆ และการให้ข้อมูลป้อนกลับจากครูเพื่อให้นักเรียนสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ การใช้ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ โดยแต่ละขั้นตอนส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และ 2) ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นดังกล่าว มีความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่ากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสามารถส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาษาญี่ปุ่น -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) th_TH
dc.subject ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน th_TH
dc.subject ทฤษฎีสรรคนิยม th_TH
dc.subject การพูด th_TH
dc.subject วรรณกรรมสัมพันธ์ th_TH
dc.title การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการ แนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 th_TH
dc.title.alternative Development of Japanese instructional process by integrating literature circles approach and social constructivism to enhance mathayomsuksa five students’ Japanese speaking ability and learning achievement en
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 32 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to develop a Japanese instructional Process by integrating Literature Circles Approach and Social Constructivism for Mathayomsuksa five students and to study the effect of using the developed Japanese instructional process on Japanese speaking ability and Japanese learning achievement. According to the ADDIE Model, this research was conducted into 5 phases. The sample was 25 Mathayomsuksa five students of English- Japanese program at Chonburi "Sukkhabot" school for academic year 2019 who were randomly by cluster sampling. The research instrument were a Japanese speaking ability behavior observation sheet and a Japanese learning achievement test. The data were then analyzed by using the descriptive statistics of mean and standard deviation, and dependent sample t-test. The results of the study were as follows: 1) The developed Japanese instructional process aims to enhance Japanese speaking ability and Japanese learning achievement for Mathayomsuksa five students. The learning activities compose of 3 steps were constructively aligned to Literature Circles and Social Constructivism; inquiry step, focuses on small temporary group and collaborative learning to read and analyze the literature that the students are interested in, reflection step, aims to elaborate the knowledge from teacher by discussing, exchanging ideas, and summarizing what is gained from the study and gaining additional knowledge from teacher, and concept invention step, aim for students to present results in different ways and providing feedback from teacher to enable students to construct their own concept about the content, usage of Japanese language, and culture, that are sequenced continuously to achieve the expected learning outcomes. 2) The results of using the developed instructional process showed that students who studied through the Japanese instructional process had the Japanese speaking ability and Japanese learning achievement were both significantly higher than before at the .05 level and indicated that this instructional process could promote the Japanese speaking ability and Japanese learning achievement of Mathayomsuksa five students. th_TH
dc.journal วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. th_TH
dc.page 43-59. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account