dc.contributor.author |
กิตติ กรุงไกรเพชร |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:51:50Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/455 |
|
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาประสิทธิผลของยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับยามอร์ฟีนในการลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตร
2. ผลข้างเคียงของยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับยามอร์ฟีนในผู้รับการผ่าตัดคลอดบุตร
วิธีดําเนินการวิจัย
คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้มารับการผ่าตัดคลอดบุตรที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาและสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา กําหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยหลักการของโคเฮน (Munro,1997) ได้จํานวนทั้งสิ้น 102 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 51 ราย กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการเตรียม
ผ่าตัด การดูแลขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดด้วยมาตรฐานเดียวกัน การผ่าตัดทําโดยผู้วิจัยคนเดียวโดยใช้เทคนิค เดียวกันเว้นแต่ชนิดของแผลผ่าตัด การใช้ยาระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัดใช้วิธีฉีดยาชาไฮเบอร์บาริค 0.5 % บูพิวาเคน (bupivacaine) เข้าไขสันหลัง (spinal anesthesia) ทุกราย เก็บข้อมูลทั่วไปและอาการข้างเคียงจากการใช้ยาของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดใช้วิธี VAS (Visual Analogue Scale) เป็นเครื่องมือวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ไคสแควร์ (Chi-square) และ Repeated Measurement Analysis of Variance
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
2. ประสิทธิผลของยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับยามอร์ฟีนในการลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. อาการข้างเคียงจากการใช้ยาทรามาดอลเปรียบเทียบกับมอร์ฟีนพบว่าอาการคลื่นไส้/อาเจียน ปวดศีรษะ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่อาการ มึนงง/เวียนศีรษะ แน่นหน้าอก/หายใจไม่สะดวก และอาการผื่น/คัน ท้องอืด/จุกเสียด/แน่นท้อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่
ระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ.05 โดยกลุ่มตัวอย่างทรามาดอลมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยามอร์ฟีน กล่าวโดยสรุปคือยาทรามาดอลมีประสิทธิผลในการระงับปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตรไม่ต่างจากการให้ยา แบบดั้งเดิม โดยมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยกว่า
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอื่นกับการลดความเจ็บปวดร่วมด้วยเช่น ปัจจัยทางสังคม ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วย สภาพแวดล้อม อาการข้างเคียงจากการใช้ยา
2. ควรประเมินความเจ็บปวดโดยวิธีการอื่น เช่นการประเมินจากพฤติกรรม การแสดงออกทางอารมณ์ของ ผู้ป่วยร่วมด้วยซึ่งจะทําให้ผลการวิจัยใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
การนําไปใช้ประโยชน์
ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการในการให้ยาระงับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดบุตรที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้รับบริการและผู้ให้บริการทางการแพทย์ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2548 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การผ่าท้องทำคลอด - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
ทรามาดอล - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
มอร์ฟีน - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
ยาแก้ปวด - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
เปรียบเทียบประสิทธิผลของยาทรามาดอลกับมอร์ฟีนในการลดความเจ็บปวดหลักการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2549 |
|