DSpace Repository

เปรียบเทียบการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนของหญิงตั้งครรภ์ด้วยไวตามินบีหกขนาดสูงขึ้นกับขนาดปกติ

Show simple item record

dc.contributor.author กิตติ กรุงไกรเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/454
dc.description.abstract รูปแบบการวิจัย: กึ่งทดลองทางคลินิก วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 1. ศึกษาประสิทธิผลของไวตามินบีหกในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 2. เปรียบเทียบประสิทธิผลของไวตามินบีหกสองขนาดในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง : หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนซึ่งมารับบริการ ณ คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามกำหนด แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งกลุ่ม ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม 1 (75 มิลลิกรัม-บี 6, n = 50) และกลุ่มที่ 2 = 100 มิลลิกรัม- บี6 n = 50) วิธีการวิจัย : กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาไวตามินบีหกรับประทานขนาด 25 มิลลิกรัมหลังอาหาร 3 มื้อ กลุ่มที่ 2 ได้รับยาไวตามินบีหกชนิดเม็ดขนาด 50 มิลลิกรัมหลังอาหาร 2 มื้อ ทั้งสองกลุ่มได้รับยาต่อเนื่องเป้นเวลา 5 วันและนัดหมายกลุ่มตัวอย่าง อีก 1 สัปดาห์ เพื่อติดตามการรักษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทั่วไปเก็บด้วยแบบสอบถาม ซึ่งบันทึกโดยผู้วิจัย ข้อมุลระดับอาการคลื่นไส้ ให้ผู้ป่วยประเมินเองในช่วงเช้าและเย็น โดยใช้วิชวล อนาลอก สเกล (Visual analogue scale) ส่วนจำนวนครั้งของอาการอาเจียนต่อวันให้ผู้ป่วยประเมินเองเช่นกัน การประเมินอาการคลื่นไส้และอาเจียนให้ผู้ป่วยประเมินก่อนและระหว่างการรับประทานยา 5 วัน การวิเคราะห์: พรรณนาด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของข้อมูลทั่วไปด้วยไคสแควร์ ทดสอบความแตกต่างอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าและเย็นของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วยการทดสอบค่าที ทดสอบความแตกต่างของอาการคลื่นไส้และอาการอาเจียนระหว่างกลุ่มและเวลาที่รับประทานยาด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าและช่วงเย็น จำนวนครั้งของอาการอาเจียน ณ เวลาที่แตกต่างกันด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย: 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. อาการคลื่นไส้ของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองพบว่า ในช่วงเย้นมีมากกว่าช่วงเช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าและช่วงเย็น และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ณ เวลาต่าง ๆ กันด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่า เวลาที่ต่างกันและความแตกต่างของขนาดไวตามินบีหกไม่มี่อิทธิพลร่วมกันต่อระดับอาการคลื่นไส้และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะผลของเวลา (time) ที่ต่างกัน มีผลทำให้ระดับอาการคลื่นไส้และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.01 และพบว่าระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาต่างกัน ไม่ทำให้ระดับอาการคลื่นไส้และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. นำผลการวัดระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมาทดสอบความแตกต่างตามช่วงเวลาก่อนและหลังการรับประทานยา พบว่าระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองก่อนเริ่มรับประทานอาหารมีความแตกต่างกับวันที่ 1 2 3 4 และ 5 ของการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ <.01 และพบว่าวันที่ 1-5 ของการรับยามีระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าแตกต่างกันทุกวันยกเว้นวันที่ 1 กับวันที่ 2 วันที่ 2 กับวันที่ 3 และวันที่ 3 กับวันที่ 4 ไม่พบความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 5. นำผลการวัดระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเย็นของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมาทดสอบความแตกต่างตามช่วงเวลาก่อนและหลังการรับประทานยา พบว่า ได้ผลลัพธ์ในทำนองเดียวกันกับในช่วงเช้า โดยระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเย็นก่อนรับยากับหลังรับยาวันที่ 1-5 มีความแตกต่างกัน ยกเว้นในวันก่อนรับยากับวันที่ 1 ของการรับยาที่ไม่แตกต่างกัน และพบว่าวันที่ 1-5 ของการรับยามีระดับอาการคลื่นไส้ในช่งเย็นแตกต่างกันทุกวันยกเว้นวันที่ 1 กับ วันที่ 2 และวันที่ 3 กับวันที่ 4 ไม่แตกต่างกันที่ ระดับสำคัญทางสถิติ .05 6. นำผลการวัดจำนวนครั้งของอาการอาเจียนของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมาทดสอบความแตกต่างตามช่วงเวลาต่าง ๆ ของการรับประทานยาด้วยการทดสอบค่าที พบว่า ให้ผลในทำนองเดียวกันกับข้อ 4 และพบว่าวันที่ 1-5 ของการรับยา จำนวนครั้ง ของอาการอาเจียนมีความแตกต่างกันทุกวันยกเว้นวันที่ 1 กับ 2 และวันที่ 3 กับ 4 ไม่แตกต่างกันที่ระดับสำคัญทางสถิติ .05 สรุปผลการวิจัย: ไวตามินบีหกขนาด 100 มิลลิกรัมต่อวันในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนสามารถบรรเทาอาการได้ไม่ต่างจากขนาด 75 มิลลิกรัมต่อวัน th_TH
dc.description.sponsorship รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2550 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คลื่นไส้ - - การรักษา th_TH
dc.subject วิตามินบี 6 th_TH
dc.subject สตรีมีครรภ์ th_TH
dc.title เปรียบเทียบการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนของหญิงตั้งครรภ์ด้วยไวตามินบีหกขนาดสูงขึ้นกับขนาดปกติ th_TH
dc.title.alternative Comparative study of treatment of nausea and vomiting during pregnancy between vitamin B6 higher dose and normal dose en
dc.type Research th_TH
dc.year 2551
dc.description.abstractalternative Study design: Quasi-experimental clinical study. Objectives : 1. To studied the effectiveness of vitamin B6 for treatment of nausea and vomiting in first trimester pregnancy period. 2. To compared the outcome of symptoms relief between the higher dosage and normal dosage of vitamin B6 Population and Samples : The pregnant women in 1 st trimester period who had symptom of nausea and /or vomiting at the ANC of the Burapha university hospital from 1 January 2007 to 30 December 2007. The samples were recruited by inclusion and exclusion criteria and grouped by simple random. The total number of samples were 100 patients who were divided to group 1(75mg-B6 group, n=50) and group 2 (100 mg – B6 group, n = 50). Materials and Methods : The 1 st group was design to received 25 mg of vitamin B6 orally 3 times after meal and the 2 nd group was design to received 50 mg of vitamin b6 orally 2 times after meal continuously 5 day. Both groups received b6 everyday for 5 day and made the appointment visit I week for evaluation the clinical response and data collection. The general data were collected by the researcher with questionnaires. The VAS (Visual Analogue Scale) was used for nausea symptom evaluation by the patients themselves. The frequency of vomiting symptom was also collected by patients themselves. Analysis: The percentage, Mean, SD, SE, Chi-square, Paired-t-test and Repeated measurement analysis of variance methods were used to analyzed the data. Results: 1. There was no statistically significant difference in the general data of both groups. 2. The nausea symptom in the evening time was higher than the morning time at the statistic significance level .05. 3. The difference of group factor was no influence in the level of nausea and frequency of vomiting symptoms. But time factor was influence in nausea score and frequency of vomiting symptoms at the statistical significance level. (p<.01) 4. The nausea score in the morning of both groups on the day before intervention were different from day 1-5 vitamin b6 intervention at the statistical significance (p<.01) and the nausea score on the day 1-5 were different statistical significance in each other except day 1 vs day 2, day 2 vs. day 3 and day 3 va. Day. 5. The nausea score in the evening of both groups on the day before intervention were different from day 1-5 of vitamin b6 intervention at the statistical significance (p<.01) except day 1 and the nausea score on the day 1-5 were different statistical significance in each other except day 1 va day 2 and day 3 vs. day 4. 6. The frequency of vomiting of both groups on the day before intervention were different from day 1-5 of vitamin b6 intervention at the statistical significance (p< .01) and the frequency of vomiting on the day 1-5 were different statistical significance in each other except day 1 va day 2 and day 3 vs. day 4. Conclusions : Vitamin b6 100 mg/day had the effectiveness of nausea and vomiting relief not different from the 75 mg/day dosage-regimen. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account