dc.contributor.author |
กฤชฐา จีระวงศ์พานิช |
|
dc.contributor.author |
จามจุรี เวียงนาค |
|
dc.contributor.author |
หยาดฝน ดิษบงค์ |
|
dc.contributor.author |
อดุลย์ คร้ามสมบุญ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-21T08:50:01Z |
|
dc.date.available |
2022-07-21T08:50:01Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4549 |
|
dc.description.abstract |
บริบท โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้นยังมีปัญหาในการดูแลควบคุมโรคและส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลลัพธ์จากการให้ความรู้ Diabetes Self-Management Program (DSMP) และการใช้อุปกรณ์สนับสนุนในการดูแลตัวเองเป็นระยะ 1 ปี โดยค่า HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% และศึกษาอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1
วิธีการศึกษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 4 คน (จากจำนวน 6 คน) ที่สามารถติดตามการรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ให้การดูแลด้วยระบบ DSMP ประกอบด้วยการให้ความรู้ เสริมทักษะการนับอาหาร การฉีดยา การให้แผ่นสำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและแผ่นตรวจคีโตนในปัสสาวะด้วยตนเอง ติดตามการดูแลทุก 3 เดือน ได้แก่ วัดระดับ HbA1C ข้อมูลการใช้ insulin ความรู้สึกด้าน emotional state และ energy level ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันคือ diabetic ketoacidosis (DKA) และ hypoglycemia ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวคือ diabetic retinopathy, diabetic nephropathy และ diabetic neuropathy
ผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัย 4 คน ทุกคนได้รับการรักษาด้วยอินซูลินแบบ Basal-Bolus regimen โดยผู้ป่วยคนที่ 1 หญิงไทยอายุ 21 ปี 6 เดือน เป็นเบาหวานมา 10 ปี 4 เดือน HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 9.7% และ 7.8% (ลดลง 1.8%) ผู้ป่วยคนที่ 2 หญิงไทยอายุ 24 ปี เป็นเบาหวานมา 3 ปี 8 เดือน HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 13.8% และ 12.1% (ลดลง 1.7%) ผู้ป่วยคนที่ 3 หญิงไทยอายุ 20 ปี 11 เดือน เป็นเบาหวานมา 9 ปี 4 เดือน ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกิด DKA 3 ครั้งใน 1 ปี HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 10.9 % และ 9.7% (ลดลง 1.2%) และผู้ป่วยคนที่ 4 ชายไทยอายุ 25 ปี 9 เดือน เป็นเบาหวานมา 7 ปี 5 เดือน ก่อนเข้าร่วมโครงการมี severe hypoglycemia 2 ครั้งใน 1 ปี HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 7.6% และ 8.2% (เพิ่มขึ้น 0.6%) หลังเข้าร่วมวิจัยผู้ป่วยทั้ง 4 คน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลและตรวจไม่พบภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ผู้ป่วย 3 ใน 4 คน มีระดับ HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% แต่ยังสูงกว่า 7.0% ทุกคนและทุกครั้งที่ติดตามการรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่า HbA1C คือ การเจาะ Self-monitoring blood glucose (SMBG) และปริมาณการใช้อินซูลินในแต่ละคน ส่วนความรู้สึกด้าน emotional state และ energy level ช่วง 6 เดือนแรกมีความกังวล แต่ 6 เดือนหลังเป็นปกติทุกคน
สรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้น 3 ใน 4 คนเมื่อติดตามการรักษาไป 1 ปี มีระดับ HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% ไม่พบการต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนระยะยาว |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ผู้ป่วยเบาหวาน -- การดูแล |
th_TH |
dc.subject |
เบาหวาน -- ภาวะแทรกซ้อน |
th_TH |
dc.subject |
ผู้ป่วย -- การดูแล |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาเบื้องต้นการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้น ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
Preliminary study: Care of type1 diabetes in emerging adulthood at Burapha University Hospital |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
1 |
th_TH |
dc.volume |
8 |
th_TH |
dc.year |
2564 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Context: Incidence of Type1 diabetes in emerging adulthood is increasing in Thailand. Objective: To determine level of glycemic control of type 1 diabetes after Diabetes Self-Management Program (DSMP) for one year, prevalence of acute and chronic complications of type 1 diabetes.
Methods: The participants were 4 from 6 cases of type 1 diabetes patients in Burapha University Hospital and can be followed up with the DSMP treatment for one year. All participants were given the knowledge about disease, survival skills for hypoglycemia and hyperglycemia management, Carbohydrateor “carb (CHO) counting”, insulin therapy. All of them received glucose strips and urine ketone strips for 1 year. HbA1C level was checked up every 3 months. The acute complications (DKA and severe hypoglycemia) and chronic complications were accessed. The emotional state and energy level were monitored.
Results: Four participants diagnosed with type 1 diabetes were recruited. All of them received Basal-Bolus insulin regimen. The first female patient aged 21 year-6- months has been diagnosed for more than 10 years. Her HbA1C level before and after treatment were 9.7%, 7.8% respectively. The second female patient aged 24 years has been diagnosed nearly 4 years. Her HbA1C level before and after treatment were 13.8%, 12.1% respectively. The third female patient aged 20 year-11-months has been diagnosed nearly 10 years. Her HbA1C level before and after treatment were 10.9%, 9.7% respectively. The last male patient aged 20 year-11-months has been diagnosed more than 7 years. His HbA1C level before and after treatment were 7.6%, 8.2% respectively. Acute and chronic complications were not demonstrated in all of them. The HbA1C level was decreased at least 1 percent in 3/4 participants. The factors that influenced the HbA1C level were self-monitoring of blood glucose and insulin adherence individually. All of them were anxious during the first 6 months, then normal feelings.
Conclusions: The three-fourths of participants had decreased the HbA1C level at least 1 percent within one year by using the DSMP. Acute and chronic complications were not demonstrated in all of them. |
th_TH |
dc.journal |
บูรพาเวชสาร |
th_TH |
dc.page |
41-55. |
th_TH |