DSpace Repository

ประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาต สัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง

Show simple item record

dc.contributor.author วรัมพา สุวรรณรัตน์
dc.contributor.author กายแก้ว คชเดช
dc.contributor.author ภัชรินทร์ กลั่นคูวัฒน์
dc.date.accessioned 2022-07-21T08:28:59Z
dc.date.available 2022-07-21T08:28:59Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4547
dc.description.abstract บทนำ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มักก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกาย และความไม่สบายใจ ส่งผลให้ต้องพึ่งการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา และกระทบต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิต วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในการบรรเทาอาการปวดและตึงกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง (ภาวะที่มีอาการปวดและตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบัก หลังส่วนบน อาจมีอาการมึนงงและเวียนศีรษะร่วมด้วย) และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุ(ธาตุดิน) เป็นธาตุเจ้าเรือนกับผู้ป่วยที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วิธีการศึกษา ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวด และตึงกล้ามเนื้อจากโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือผู้ที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือน จำนวน 10 คน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ อาโปธาตุ วาโยธาตุ และเตโชธาตุ จำนวน 10 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) เพื่อทาในเวลาเช้าและเย็น ครั้งละ 1 มิลลิลิตร ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการรักษาผู้ป่วยได้รับการประเมินระดับความปวดด้วย visual rating scales และได้รับการประเมินความตึงของกล้ามเนื้อด้วยการวัดองศาการเคลื่อนไหวผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ทาน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) มีอาการปวดลดลงและมีองศาการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างธาตุเจ้าเรือน พบว่าน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดระดับความปวดของผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือนได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนองศาการเคลื่อนไหวพบว่า ไม่แตกต่างกัน สรุป การทาด้วยน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดความปวดกล้ามเนื้อ และตึงกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง โดยผู้ป่วยสามารถใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการปวดด้วยตนเอง และช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรักษาพยาบาล th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปวดกล้ามเนื้อ -- การรักษา th_TH
dc.subject การแพทย์แผนไทย th_TH
dc.subject น้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ th_TH
dc.title ประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาต สัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง th_TH
dc.title.alternative The effectiveness of aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) for muscle pain and tension in patients with myofascial pain syndrome th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 1 th_TH
dc.volume 8 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Introduction: Illnesses caused by muscle disorders are a common occurrence, and can lead to physical and mental suffering, a dependency on treatments, as well as affect lifestyle and the general quality of life. Objective: To study the effectiveness of aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) for muscle pain and tension in patients with Myofascial Pain Syndrome, and to compare the effectiveness of the pa-ta-vee oil formulate with the Pa-ta-vee body element (soil element), as well as other body elements including a-po, wa-yo, and te-cho elements (i.e., water, wind and fire elements). Methods: This study was conducted with twenty patients affected with Myofascial Pain Syndrome who had experienced muscle pain and tension, and received treatment at Suwannabhumi Hospital in Roiet Province. The 20 patients were divided into 2 groups of 10 each. The first group of patients had the pa-ta-vee body element treatment. The second group of patients underwent other body element treatments, including the a-po, wa-yo, and te-cho elements. Patients from both groups received the aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) 1.0 ml at a time, 2 times/day (i.e., mornings and evenings) for 4 consecutive weeks. Before and after treatment, all patients were evaluated for muscle pain using visual rating scales, with their muscle tension calculated via degrees of movement using a goniometer. Results: Patients who received the aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) had both a significant reduction in muscle pain and an increased degree of muscle movement (both p < 0.05). When compared with the body elements, the pa-ta-vee oil formulate significantly lowered pain level in the patients having the pa-ta-vee body element, more so than those patients receiving other body elements (p < 0.05). However, the degree of muscle movement was not significantly different between the various body elements. Conclusion: Aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) may relieve muscle pain and tension for patients with Myofascial Pain Syndrome. The patients may apply it topically by themselves to relieve pain and reduce their other medical expenses. th_TH
dc.journal บูรพาเวชสาร th_TH
dc.page 1-16. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account