DSpace Repository

อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เข้ารับการฉีดสารทึบรังสี โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ระวีวรรณ วิฑูรย์
dc.contributor.author ธันวพร แพทย์พิทักษ์
dc.date.accessioned 2022-07-21T07:42:13Z
dc.date.available 2022-07-21T07:42:13Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4544
dc.description.abstract บริบท ภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสีส่งผลต่อการตัดสินใจในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง วัตถุประสงค์ เพื่อหาอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลย้อนหลังแบบภาคตัดขวาง ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึง กันยายน 2562 ค้นหาข้อมูลผู้ป่วยจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเวชระเบียน คำนวณค่าอุบัติการณ์การเกิดโรค และวิเคราะห์แบบการถดถอยโลจิสติก/พหุกลุ่มโลจิสติกเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด 205 ราย พบภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสี 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.2 โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่าอัตราการกรองของไตที่น้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร เพิ่มความเสี่ยง 21.01 เท่า (95% CI: 3.34, 131.97, p = 0.001) และปริมาณของสารทึบรังสีที่ได้รับเทียบกับน้ำหนักตัวที่ ≥ 2.5 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมเพิ่มความเสี่ยงเป็น 4.8 เท่า (95% CI: 1.12, 20.61, p = 0.035) เมื่อเทียบกับปริมาณที่น้อยกว่า สรุป อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสีในโรคผู้ป่วยไตวายเรื้อรังพบ ร้อยละ 11.3 โดยค่าอัตราการกรองของไตที่น้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร และปริมาณของสารทึบรังสี ≥2.5 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สารทึบรังสี th_TH
dc.subject ไตวายเฉียบพลัน th_TH
dc.subject ไตวายเรื้อรัง th_TH
dc.title อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เข้ารับการฉีดสารทึบรังสี โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Incidences of Contrast-Induced Nephropathy, and associated factors in patients with chronic kidney disease at Burapha University Hospital th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 8 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Background: An acute kidney injury, following the administration of contrast media, affects diagnosis and therapy in patients with chronic kidney disease. Objective: To determine the incidence of Contrast-Induced Nephropathy (CIN), and its associated factors in patients with chronic kidney disease. Materials and Methods: A descriptive, cross-sectional study was conducted at Burapha University Hospital between September of 2018 and September, 2019. The data was collected from medical records throughout the hospital’s computer directory. Once the incidence of disease was calculated, statistical calculations were done using logistic regression and multivariate logistic regression analysis. Result: The incidence of CIN occured in 23 out of 205 patients, accounting for a rate of 11.2%. Factors that increased the risk of CIN included a glomerular filtration rate less than 15 ml/min/1.73m2. In this way, the risk of CIN increased to 21.01 times (95% CI: 3.34, 131.97, p = 0.001). By contrast, a GFR in the range of 30 - 59 ml/min/1.73m2, and with a ratio of contrast media to body weight ≥ 2.5 ml/kg, will increase the risk of CIN to 4.8 times (95% CI: 1.12, 20.61, p = 0.035), as compared to the group that received the amount of contrast media to body weight < 2.5 ml/kg. Conclusion: In patients with chronic kidney disease, the incidence of CIN was 11.2%. An estimated glomerular filtration rate less than 15 ml/min/1.73m2, with the administration of contrast media to body weight ≥ 2.5 ml/kg, increases the risk of CIN. th_TH
dc.journal บูรพาเวชสาร th_TH
dc.page 55-71. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account