dc.contributor.author |
จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์ |
|
dc.contributor.author |
จุฑามาศ สุวรรณเลิศ |
|
dc.contributor.author |
ผกาพรรณ ดินชูไท |
|
dc.contributor.author |
ฉวีรัตน์ ชื่นชมกุล |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-21T02:01:06Z |
|
dc.date.available |
2022-07-21T02:01:06Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4542 |
|
dc.description.abstract |
บริบท โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ เพื่อทราบผลของกลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมของแพทย์ต่ออัตราการสั่งยาปฏิชีวนะที่แผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Upper Respiratory Tract Infection; URI) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis; AGE) และการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ
วิธีการศึกษา กลวิธี ได้แก่ การอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ การนำแผ่นพับให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยวางไว้ที่โต๊ะตรวจและการแจ้งเตือนด้วยโปรแกรมตรวจโรค เมื่อมีการสั่งยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เก็บข้อมูลเปรียบ เทียบในช่วง 3 เดือน ก่อนและหลังจากที่เริ่มกลวิธี
ผลการศึกษา กลวิธีดังกล่าวสามารถลดการสั่งยาปฏิชีวนะใน URI, AGE และการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสด ลงได้ร้อยละ 9.39 (p < 0.001, 95%CI 7.48-11.31), 7.03 (p < 0.001, 95%CI 3.72-10.33) และ 2.60 (p = 0.020, 95%CI 0.40-4.80) ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างของอัตราการกลับมาพบแพทย์ซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง และอัตราการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วย URI รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการเกิดแผลติดเชื้อในผู้ป่วยบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วย AGE พบการเพิ่มขึ้นของอัตราการกลับมาแพทย์ซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง
ร้อยละ 0.61 (p = 0.025, 95%CI 0.08-1.13) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของอัตราการนอนโรงพยาบาล ในผู้ป่วย AGE สรุป การใช้กลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะของแพทย์มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการสั่งยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ยาปฏิชีวนะ |
th_TH |
dc.subject |
การใช้ยา |
th_TH |
dc.subject |
โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา |
th_TH |
dc.title |
ผลของกลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะของแพทย์ในแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล |
th_TH |
dc.title.alternative |
An effective strategy to reduce the overprescription of antibiotics by clinicians in the hospital’s outpatient and emergency departments |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
2 |
th_TH |
dc.volume |
8 |
th_TH |
dc.year |
2564 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Context: The antibiotic smart use (ASU) project of Burapha University Hospital did not achieve its goals, although there was an ongoing campaign.
Objective: To understand what is an effective strategy to reduce the over prescription of
antibiotics by clinicians in outpatient and emergency departments across three specific diseases:
upper respiratory tract infections (URI), acute gastroenteritides (AGE) and fresh traumatic wound
infections.
Materials and Methods: The evaluated strategy included an ASU workshop for the clinicians, the display of ASU brochures (for patients) at the desks of clinicians as well as the use of computer programs that signalled an alarm when antibiotics were prescribed suspiciously. The data was collected over 3 months, as well as before and after these safeguards were initiated.
Results: Our strategy could decrease the prescription rate of antibiotics for URI, AGE and fresh traumatic wound infections by 9.39% (p < 0.001, 95%CI 7.48-11.31), 7.03% (p < 0.001, 95%CI 3.72-10.33) and 2.60% (p = 0.020, 95%CI 0.40-4.80), respectively. However, there was no difference in the admission rate for patients with URI, or for the rate of hospital revisits within 48 hours. In patients with AGE, we found the rate of hospital revisits within 48 hours by 0.61% (p = 0.025, 95%CI 0.08-1.13). Yet, there was no difference in admission rates for patients with AGE. What’s more, there was no difference in the frequency of fresh traumatic wound infections.
Conclusions: The implementation of a strategy to reduce the over prescription of antibiotics associated with the three diseases as mentioned above was inconclusive. |
th_TH |
dc.journal |
บูรพาเวชสาร |
th_TH |
dc.page |
26-41. |
th_TH |