DSpace Repository

การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี
dc.contributor.author ปองทิพย์ อุ่นประเสริฐ
dc.contributor.author สันติชัย ดินชูไท
dc.contributor.author ตระการ ไชยวานิช
dc.date.accessioned 2022-07-16T02:01:53Z
dc.date.available 2022-07-16T02:01:53Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4540
dc.description.abstract บริบท การเกิดบาดแผลบริเวณชายทะเลอาจมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างจากบาดแผลทั่วไป อุบัติการณ์ชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อน ผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ ศึกษาหาอุบัติการณ์ และชนิดของเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเลที่มารักษา ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ปัจจัยที่มีผลต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล วิธีการศึกษา ทำการศึกษาแบบไปข้างหน้า เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ระยะเวลา 14 เดือน โดยเก็บข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับบาดแผล ข้อมูลการรักษา ยาปฏิชีวนะที่ได้รับเก็บชิ้นเนื้อในบาดแผลส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียทั้งแบบต้องการออกซิเจน และแบบไม่ต้องการออกซิเจนรายงานอุบัติการณ์ของเชื้อแบคทีเรียที่พบ วิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล ผลการศึกษา เก็บข้อมูลผู้ป่วย 100 คน เพศชาย 81 คน เพศหญิง 19 คน อายุเฉลี่ย 28.3 ปี (10-70 ปี) ระดับ การศึกษามีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.017 การศึกษาระดับ มัธยมศึกษามีโอกาสตรวจพบเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับระดับการศึกษาอื่น odds ratio = 3.67 (95% CI 1.47-9.16), p = 0.005 สาเหตุการเกิดบาดแผลมีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.023 บาดแผลเกิดจากการกระทบกระแทกกับบุคคลอื่นพบว่า มีโอกาสตรวจพบ การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสาเหตุอื่น odds ratio = 4.5 (95% CI 1.46-14.36), p = 0.009 ระยะเวลาเกิดบาดแผลมีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.037 เวลาที่น้อยกว่า 30 นาที มีโอกาสตรวจพบเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มระยะ เวลาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป odds ratio = 2.9 (95% CI 1.11-7.71), p = 0.029 อุบัติการณ์การปนเปื้อนเชื้อ แบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเลเท่ากับร้อยละ 30 พบ Staphylococcus epidermidis ร้อยละ 63.3 viridans group streptococci (VGS) ร้อยละ 20 Staphylococcus aureus ร้อยละ 10 และ Proteus vulgaris ร้อยละ 6.7 ในการศึกษานี้ไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาบาดแผล สรุป การศึกษาระดับมัธยมศึกษา บาดแผลที่เกิดจากการกระทบกระแทกกับบุคคลอื่น และระยะเวลาเกิดบาดแผลน้อยกว่า 30 นาที มีโอกาสมากขึ้นในการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล อุบัติการณ์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล ส่วนใหญ่เป็นเชื้อ ประจาถิ่นบริเวณผิวหนัง และการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับบาดแผลทั่วไป การให้ยาปฏิชีวนะ จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้กลุ่มที่แตกต่างจากบาดแผลเปิดในสิ่งแวดล้อมทั่วไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject บาดแผลและบาดเจ็บ th_TH
dc.subject บาดแผลและบาดเจ็บ -- การติดเชื้อ th_TH
dc.subject บาดแผลและบาดเจ็บ -- การรักษา th_TH
dc.title การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Marine and beach bacterial wound contamination at Burapha University Hospital th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 8 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Background: Beach and marine bacterial contamination may be occurred differently from the general wounds. The authors study incidence of bacterial contamination, result and complication from the treatment of the beach and the marine wounds. Objectives: To study the incidence and identification of bacterial contamination from the beach and the marine wounds at Burapha University Hospital, impact factor and complication. Materials and Methods: A prospective study, started from 1 March 2017-31 May 2018 (14 months). Collected general patients informations, wound informations, treatment and oral antibiotics. Collected tissue culture from wound for aerobic and anaerobic bacteria, incidence of bacterial contamination and analyze impact factor for bacterial contamination. Results: One hundred patients were enrolled, 81 were male. Mean age was 28.3 years (10-70 years). Education level associated to bacterial contamination p = 0.017. High school level increased opportunity for detection of bacterial contamination, odds ratio = 3.67 (95% CI 1.47-9.16), p = 0.005. Mechanism of injury associated to bacterial contamination p = 0.023. Physical contact with other person injury increased opportunity for detection of bacterial contamination, odds ratio = 4.5 (95% CI 1.46-14.36), p = 0.009. Duration associated to bacterial contamination p = 0.037. Duration less than 30 minutes increased opportunity for detection of bacterial contamination, odds ratio = 2.9 (95% CI 1.11-7.71), p = 0.029. Incidence of bacterial contamination from the beach and the marine wounds was 30 percent: Staphylococcus epidermidis 63.3 percent, viridans group streptococci (VGS) 20 percent, Staphylococcus aureus 10 percent and Proteus vulgaris 6.7 percent. No wound complication in the present study. Conclusion: High school level, physical contact with other person injury and duration less than 30 minutes increased opportunity for detection of bacterial contamination from the beach and the marine wounds. Incidence of bacterial contamination from the beach and the marine wounds were mostly contaminated from skin normal flora and environmental bacteria like general wound contamination. The typical oral antibiotic prophylaxis play the important role for prevention of wound infection for the beach and the marine wounds without the need of the atypical group of antibiotic. th_TH
dc.journal บูรพาเวชสาร th_TH
dc.page 1-14. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account