dc.contributor.author | นุจรี ไชยมงคล | th |
dc.contributor.author | ยุพิน ชินสงวนเกียรติ | th |
dc.contributor.author | มานพ เชื่อมทอง | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:51:50Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:51:50Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/453 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาสถานการณ์ จำนวน สภาพความเป็นอยู่ การเจริญเติบโต และการสนับสนุนด้านต่าง ๆ รวมทั้งคุณภาพชีวิตและคุณภาพการดูแลเด็กกำพร้าจากเอชไอวี/เอดส์ ในเขตภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลเพื่อสำรวจสถานการณ์ จำนวนเด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากบิดามารดาติดเชื้อเอไอวี โดยการส่งแบบสำรวจทางไปรษณีย์สอบถามข้อมุลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ข้อมูลคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมกลุ่มย่อยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และข้อมูลปริมาณจากการสังเกต สัมภาษณ์ และสอบถาม ผุ้ดุแลและตัวเด็กเอง จำนวน 210 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการงวิจัยประกอบด้วยแบบสัมรวจที่ส่งทางไปรษณีย์ แนวคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกและประชุมกลุ่มย่อย แบบวัดคุณภาพชีวิตและคุณภาพการดูแล แบบประเมินความฉลาดทางอารณ์ สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี, 6-11 ปี และ 12 -18 ปี และแบบวัดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น การวิเคราะห์ข้อมุลคุณภาพใช้การวิเคราะห์ Content analysis ข้อมูลปริมาณใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสัย ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดชลบุรี มีจำนวนเด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบมากเป้นอันดับหนึ่งในภาคตะวันออก รองลงไปคือจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นข้อมูลสะสมจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในแต่ละปี ปัญหาและความต้องการของเด็กกำพร้าพบว่า เด็กกำพร้ามีความต้องการจำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านการยอมรับจากชุมชน และ 4) ด้านสุขภาพ ผู้ดูแลเด็กมีอายุเฉลี่ย 42.7 ปี ส่วนใหญ่เป็นมารดา รองลงไปคือ ยาย และย่า สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 4,700 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เด็กมีอายุเฉลี่ย 10.3 ปี เป็นเด็กชายและเด็กหญิงเท่ากัน ร้อยละ 90 กำลังสึกษาอยู่ ร้อยละ 96 มีสุขภาพปกติ การเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความสูงเป็นปกติประมารร้อยละ 70 ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี มีเพียงร้อยละ 67 ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน เด็กมีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์สูง ยกเว้นด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คุณภาพการดูแลเด็กอยู่ในเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างไปทางสูง ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กกำพร้าทุกกลุ่มอายุ พบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างไปทางต่ำทั้งดดยรวม และรายด้านและเด็กกำพร้าที่เป็นวัยรุ่นประมาณร้อยละ 17-50 มีภาวะซึมเศร้า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเด็กกำพร้าจากโรคเอดส์ยังคงมีความต้องการกรช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การดูแลสุขภาพ การเข้าใจ และการยอมรับจากชุมชนและสังคม การมีผู้อุปการะ รวมทั้งผู้ดุแลเด็กต้องการการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและข้อมูลข่าวสาร | |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ในเด็ก - - การดูแล - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ในเด็ก - - ชลบุรี - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | |
dc.title | การศึกษาสถานการณ์เด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจาก เอช ไอ วี / เอดส์ในประเทศไทยและรูปแบบความช่วยเหลือ: กรณีศึกษาในภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | HIV/AIDS orphans and vulnerable children and supporting system in Thailand : situation analysis : a case study in the Eastern region, Chon Buri province Thailand | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2549 | |
dc.description.abstractalternative | This descriptive research was to survey situations and numbers, and to examine lifestyles, growth, supports, quality of life and quality of care for orphans affected by HIV/AIDS and vulnerable children in the eastern region, Chon Buri province, Thailand. Postal survey was used to collect data about situations and numbers of the children by mailing to Bureau of Provincial Public Health. Sample included 210 dyads of orphans affected by HIV/AIDS and their primary caregivers. Indepth interview and focus group discussion were used to collect qualitative data of the chidren and the stakeholders. Instruments for quantitative data included the quality of Life's and the quality of care's scales, the Emotional Quotient's Scale for Children age of 3-5 years, 6-11 years and 12-18 years, and the Depression Scale for Adolescents. Content analysis was used to analyze qualitative data. For quantitative data, frequencies, percents, means, standard deviations, and ranges were used. Results of the study revealed that for the data accumulated until the end of the year 2003, the most orphans and vulnerable children in the eastern region was Chon Buri, and the next was Rayong. However, numbers of the children was declining each year. Needs and problems of the children inclided 1) financial support, 2) education, 3) recognition and understanding from community and society, and 4) health care. Mean age of caregivers was 42.7 years. Most of the caregivers were mothers, and some were grandmothers. They were healthy, in general. Monthly family income was approximately 4,700 Bath, which was inadequate for their living expenses. Mean age of the children was 10.3 years. There was equal percentage between boys and girls. 90% of them were studying, and 96% were normal health. Approximately 70% of the children had appropriated growth for both weight for age and height for age,as well as weight for height. Only 67% of children under 5 years old were completed immunization. Quality of life of the children was high, except the finance that was moderate. Quality of child care was moderate-high. The orphans and vulnerable children of all age groups were low for their emotional intelligence. 17-50% of adolescents affected by AIDS were depressed. There findings indicated that financial support, education, health care, recognition and understanding from community and society, and adoptive parents would need to be strengthened for orphans and vulnerable children affected by HIV/ AIDS. In addition, their caregivers would need to be supported for their finance and information. |