dc.contributor.author |
อรสา ปิ่นแก้ว |
|
dc.contributor.author |
วารี กังใจ |
|
dc.contributor.author |
สหัทยา รัตนจรณะ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-15T10:02:26Z |
|
dc.date.available |
2022-07-15T10:02:26Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4532 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัดต่ออาการหายใจลำบาก ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และความวิตกกังวล กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล 1 เดือน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินอาการหายใจลำบาก เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และแบบสัมภาษณ์ความวิตกกังวล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบาก และค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และค่าเฉลี่ยคะแนนความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัดไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหายใจลำบาก เพื่อบรรเทาจากอาการหายใจลำบากความวิตกกังวล และเพิ่มระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
สมาธิ -- การใช้รักษา |
th_TH |
dc.subject |
ปอดอุดกั้น |
th_TH |
dc.subject |
การหายใจลำบาก |
th_TH |
dc.subject |
ความวิตกกังวลในผู้สูงอายุ |
th_TH |
dc.title |
ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัดต่ออาการหายใจลำบากความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และความวิตกกังวล ของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
th_TH |
dc.title.alternative |
The effects of a symptom management program combined with SKT Meditation on dyspnea, oxygen saturation, and anxiety among older people with chronic obstructive pulmonary disease |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
2 |
th_TH |
dc.volume |
29 |
th_TH |
dc.year |
2564 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This quasi-experimental research aimed to study the effects of a symptom management program combined with SKT meditation on dyspnea, oxygen saturation, and anxiety among older people with chronic obstructive pulmonary disease. The sample was older people who had received a diagnosis of chronic obstructive pulmonary disease and had been admitted to the in-patient
department of a general hospital, Chachoengsao province. The twenty-two subjects were randomly assigned in equal numbers to the experimental group or the control group. The experimental group received the symptom management program combined with SKT meditation, while the control group research instruments were the dyspnea visual analog scale, the pulse oximeter, and the state anxiety inventory form. Data were analyzed using descriptive statistics and repeated measures ANOVA.
The study indicated that mean scores of dyspnea and anxiety at posttest and follow-up of the older people with chronic obstructive pulmonary disease in the experimental group had signifcantly lower than in the control group (p < .05) and the mean scores of oxygen saturation at posttest and follow-up were signifcantly higher than in the control group (p < .01). This study suggested that registered nurses should apply the symptom management program combined with SKT meditation for the older people with chronic obstructive pulmonary disease to reduce the suffering from dyspnea and anxiety, and to increase oxygen saturation level. |
th_TH |
dc.journal |
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.page |
59-70. |
th_TH |