DSpace Repository

ผลของโครงการส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง

Show simple item record

dc.contributor.author วริษา กันบัวลา
dc.contributor.author ณชนก เอียดสุย
dc.contributor.author อาภรณ์ ดีนาน
dc.date.accessioned 2022-07-15T07:39:24Z
dc.date.available 2022-07-15T07:39:24Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4522
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติที่มารับการบริการตรวจสุขภาพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 31 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพและระดับไขมันในเลือด และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ สถิติ ทดสอบค่าที และสถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับไขมันในเลือดชนิดคอเลสเตอรอลรวมและแอลดีแอลน้อยกว่าก่อนทดลองและน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยระดับไขมันในเลือดชนิดเอชดีแอลและไตรกลีเซอไรด์หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯ นี้สามารถช่วยให้ผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจเหมาะสมมากขึ้น และช่วยลดระดับไขมันในเลือดชนิดคอเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพควรประยุกต์ใช้โปรแกรมฯ นี้กับผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติต่อไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ th_TH
dc.subject หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject ไขมันในเลือด th_TH
dc.subject ภาวะไขมันสูงในเลือด th_TH
dc.title ผลของโครงการส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง th_TH
dc.title.alternative The effects of a health literacy promotion program on coronary artery disease preventive behaviors and serum lipid levels among people with dyslipidemia th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 3 th_TH
dc.volume 29 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental study aimed to examine the effects of a health literacy promotion program on coronary artery disease preventive behaviors and serum lipid levels among people with dyslipidemia. The sample was 62 people with dyslipidemia who came for an annual check-up at the out-patient department in one eastern regional hospital. The participants were randomly assigned into experimental (n = 31) and control (n = 31) groups. The experimental group received the health literacy promotion program, while the control group received usual care. The instruments included a record of demographic and health data and lipid profile, and coronary artery disease preventive behavior questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics, repeated measures ANOVA, independent T-tests, and Mann-Whitney U. The results revealed that in the experimental group, mean scores of preventive behaviors at the 8th and 12th weeks were higher than at baseline and in the control group (p < .05). Mean scores of total cholesterol and LDL-C in the experimental group at the 8th and 12th weeks were significantly lower than at baseline and in the control group (p < .05). Mean scores of HDL-C and Triglycerides at the 12th week were not significant different between the experimental and control groups. This study indicated that the health literacy promotion program resulted in improving coronary artery disease preventive behaviors among people with dyslipidemia. In addition, the program helped lower total serum cholesterol and LDL-C, which could prevent coronary artery disease in the future. Therefore, nurses and health care providers could use this program for people with dyslipidemia. th_TH
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.page 1-14. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account