DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์

Show simple item record

dc.contributor.author ศิรินภา แก้วพวง
dc.contributor.author วรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.author อารียา สมรูป
dc.contributor.author ชนาภา งามฉาย
dc.date.accessioned 2022-07-15T05:25:00Z
dc.date.available 2022-07-15T05:25:00Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4516
dc.description.abstract การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มารับบริการจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอในภาคตะวันออก จำนวน 397 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามอิทธิพลจากสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .80, .79, 75, .85 และ .80 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 - มกราคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อิทธิพลจากสังคม และการรับรู้ความสามารถของตนเอง สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้ร้อยละ 54.9 (R2= .549, p < .001) โดยปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = .642, p < .001) อิทธิพลจากสังคม (β = .106, p < .05) และการรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ (β = -.076, p < .05) ส่วน อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของสตรีก่อนตั้งครรภ์ ส่งเสริมอิทธิพลทางสังคม และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการลดอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สตรีวัยเจริญพันธุ์มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject วิถีชีวิต th_TH
dc.subject สตรีวัยเจริญพันธุ์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ th_TH
dc.title.alternative Factors Influencing Intention to Change Preconception Lifestyle Among Reproductive Age Women th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 30 th_TH
dc.year 2565 th_TH
dc.description.abstractalternative This predictive correlation study aimed to determine factors influencing intention to change preconception lifestyle among reproductive women. A systematic random sampling technique was used to recruit the sample of 397 women who visited marriage registration District Offices at Mueang Chonburi, Mueang Rayong, and Mueang Chachoengsao. Research instruments were questionnaires to gather data for demographic information, preconception knowledge, preconception belief, perceived barriers regarding preconception care, social influence, perceived self-efficacy, and intention to change preconception lifestyle. Their reliability values were .89, .80, .79, 75, .85, and .80, respectively. Data were collected from October 2021 to January 2022. Descriptive statistics and Standard multiple regression were used to analyze the data. The results revealed that age, preconception knowledge, preconception belief, perceived barriers regarding preconception care, social influence, perceived self-efficacy together explained 54.9 % of variance in intention to change preconception lifestyle (R2 = .549, p < .001). The significant predictors of intention to change preconception lifestyle were self-efficacy (β = .642, p < .001), social influence (β = .106, p < .05), and perceived barrier regarding preconception (β = -.076, p < .05). The factors such as age, preconception knowledge, and preconception belief did not significantly predict intention to change preconception lifestyle. The findings may aid healthcare personnel to develop activities to assess and encourage women’s self-efficacy, promote their social influence, and counsel them to reduce their perception of preconception barriers. In addition, it will foster reproductive women to have a high intention to change their preconception lifestyle. th_TH
dc.keyword การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ th_TH
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.page 81-94. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account