dc.contributor.author |
พรรณี พิมาพันธุ์ศรี |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-09T04:31:43Z |
|
dc.date.available |
2022-07-09T04:31:43Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4512 |
|
dc.description.abstract |
โครงการวิจัยนี้ศึกษาแนวทางหรือรูปแบบในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวผ่านการขับเคลื่อนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก โดยใช้กระบวนการ (Community Based Design Creative Process) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและรูปแบบในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และศึกษาเรื่องกระบวนการสร้างนวัตกรรมและแนวคิดสร้างสรรค์จากเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้แนวคิดในการสร้างเครื่องมือให้ผู้ประกอบการในการสรรสร้างสินค้า เพื่อขับเคลื่อนการน าอัตลักษณ์ตามแบบวิถีไทย ที่สะท้อนในวิถีชีวิต ศิลปะ ธรรมชาติ ของผู้คนในชุมชน มาสอดประสานในกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากของดีของเด่นในชุมชน ด้วยกระบวนการสืบค้น ร้อยเรียง
ออกแบบ และต่อยอดโดยได้คัดเลือกมาทั้งหมด 2 พื้นที่ คือ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 ชุมชน ได้แก่ชุมชนเจริญสุขและสนวนนอก และ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ได้แก่ 14 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกระบี่ และชุมชนบ้านหนองทะเล นักวิจัยลงพื้นที่เพื่อสืบค้นหาของดีของเด่นในพื้นที่เป้าหมาย พร้อมด้วย กลุ่มเยาวชนในพื้นที่และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่กำหนด นักออกแบบมืออาชีพ สมาชิกชุมชนและปราชญ์ชุมชน และ นักธุรกิจรุ่นใหม่ของจังหวัด ทำให้ได้กระดานทรัพย์สินของชุมชน (Community Asset Board) ซึ่งรวบรวมของดีของเด่นของพื้นที่ เพื่อใช้ในการทดลองนำไปปฏิบัติออกแบบสร้างสรรค์งานตามแนวคิดวิถีไทยและติดตามจัดทำแนวคิด โดยการจัดค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้การดูแลของหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ร่วมวิจัย ทดลองฝึกปฏิบัติพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแนวทางการสร้างเอกลักษณ์และมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยการกำหนดโจทย์ให้ผู้ร่วมทดลอง ร่วมออกแบบตามกระบวนการสร้างต้นแบบ ของผลการสร้างสรรค์ เพื่อพร้อมนำไปทดสอบประเมินความพร้อมก่อนสู่ตลาดต่อไป ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนามาจากของดีของเด่นของแต่ละพื้นที่ จำนวน 8 ชิ้นงาน และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 1 ชิ้นได้ถูกนำไปต่อ
ยอด สู่การนำออกสู่ตลาดโดยนักออกแบที่เข้าร่วมโครงการ ในชื่อ POUKAจากการศึกษาพบว่า ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานทรัพยากรของชุมชนนั้น การเข้ามามีส่วนร่วมของคนภายนอกชุมชนในโครงการนี้ทำหน้าที่เป็น ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) เพื่อจะนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปต่อยอดและสร้างสรรค์ มีการแสดงออกถึงแนวทางการดำเนินงานที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โดยที่ชุมชนได้ประโยชน์จากการที่สินค้าของชุมชน ผู้ประกอบการก็ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพและยังสามารถช่วยเหลือชุมชนได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ความคิดสร้างสรรค์ |
th_TH |
dc.subject |
ธุรกิจชุมชน |
th_TH |
dc.subject |
การออกแบบผลิตภัณฑ์ |
th_TH |
dc.title |
นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยมูลค่าท้องถิ่น |
th_TH |
dc.title.alternative |
Innovation and creativity for local value-driven products |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
2 |
th_TH |
dc.volume |
10 |
th_TH |
dc.year |
2564 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research project explores model for increasing the value of tourism-related products and services, driven by community stakeholders and external experts using community-based design creation process. Another objective is to design and develop value-creation innovative process and creative ideas from the young generation. It aims to suggest tool to create value creating products presenting the Thai identity in each community.
Communities in Burirum and Krabi provinces in Thailand were selected. The dedicated team consisting of community members, young entrepreneurs, young designers and professional designers participated in experimental research. Community Asset Boards (CAB) were used in the creative workshops aimed to develop value creation prototypes of products and brands that are ready for commercialized process. One of the prototypes was put into the commercialized process and launched as POUKA brand by the research participated designer.
The research outcome indicated that collaboration between the insiders (community members) and the outsiders (young entrepreneur, young designers and professional designers) can create shared value. However, these stakeholders could work independently to achieve their own goals and interests. The authentic products, designed with sense of the community, resulting from such a collaboration in the community-based design. |
th_TH |
dc.journal |
วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.page |
128-147. |
th_TH |