dc.contributor.author |
เชวง ซ้อนบุญ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-04T01:14:06Z |
|
dc.date.available |
2022-07-04T01:14:06Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4509 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยก่อนระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดประสบการณ์ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นเตรียม ขั้นที่ 2 การวางแผนและตัดสินใจ ขั้นที่ 3 การเล่น และขั้นที่ 4 การสะท้อนความคิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัย พบว่า
1. เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหารก่อนและระหว่างการทดลองอยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน และหลังการทดลองอยู่ในระดับดีมาก ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหารหลังการทดลองสูงกว่าทั้งก่อนการทดลอง และระหว่างการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน และระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมทุกด้านและรายด้าน |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การเรียนรู้แบบประสบการณ์ |
th_TH |
dc.subject |
ทักษะทางการคิด |
th_TH |
dc.subject |
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน |
th_TH |
dc.subject |
การศึกษาปฐมวัย |
th_TH |
dc.title |
ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MATH-3C ที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effect of learning experience management by implementing Math-3C learning model on executive function skills of kindergarteners |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |
dc.issue |
3 |
th_TH |
dc.volume |
32 |
th_TH |
dc.year |
2564 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This quasi-experimental research aimed to investigate the developmental trajectories of executive function skills in kindergarten students before, during, and after using MATH-3C learning model. Thirty kindergarten 3 students studying at Burapha University Demonstration School in the second semester of academic year 2020 were selected using cluster random sampling. The research instruments were MATH-3C learning model, consisting of the 4 steps of experience management (i.e., Step 1: Preparation, Step 2: Planning and making decision, Step 3: Playing, and Step 4: Reflection) and an assessment form for executive function skills in kindergarten students. Data analyses were performed using the mean, standard deviation, percentage, and repeated-measures ANOVA.
Results of the study showed that:
1. The executive function skills of the kindergarten students were at a good level before
and during the use of MATH-3C learning model in overall and individual aspects, while were at
the very good level in all aspects after the experiment;
2. A repeated-measures ANOVA showed that the executive function skills of the kindergarten students after the experiment were significantly higher than those both measured before and during the experiment at the .05 level in overall and individual aspects. It was also found that the executive function skills during the experiment was significantly higher than those before the experiment at the .05 level in overall and individual aspects. |
th_TH |
dc.journal |
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.page |
24-40. |
th_TH |