DSpace Repository

การจัดการเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author นพวรรณ พึ่งพา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-27T07:26:54Z
dc.date.available 2022-06-27T07:26:54Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4489
dc.description สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องการจัดการเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ วิเคราะห์การจัดการเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชน ศึกษาอิทธิพลของการจัดการเชิงนวัตกรรมที่มีต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน และเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงผสม (Mixed-method design) ระหว่างเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เชิงปริมาณเก็บแบบสอบถามจากสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จำนวน 342 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและตัวแปรเชิงอนุมาน ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Multiple linear regression analysis) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (Coefficient of Determination : R2) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และกลุ่มตัวอย่างจากบุคคลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ประธานวิสาหกิจชุมชนที่บริหารกิจการและมีความยั่งยืน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีการจัดการเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการจัดการเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ด้านพฤติกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 ตามลำดับ และอยู่ในระดับปานกลาง อีก 3 ดังนี้ ด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ด้านการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 และด้านกลยุทธ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 ตามลำดับ และวิสาหกิจชุมชนมีการจัดการเชิงนวัตกรรม ในการสร้างสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านการสร้างนวัตกรรมและการต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 และอยู่ในระดับปานกลาง อีก 3 ด้าน ดังนี้ด้านการสร้างความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.27 รองลงมาคือ ด้านการลดต้นทุน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 และด้านมีความยืดหยุ่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ตามลำดับ th_TH
dc.description.sponsorship คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) th_TH
dc.subject วิสาหกิจชุมชน th_TH
dc.title การจัดการเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative Innovational Management of The Community-based Enterprises in the Area of Thailand Eastern Economic en
dc.type Research th_TH
dc.author.email noppawanp@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This research on Innovational Management of The Community-based Enterprises in the Area of Thailand Eastern Economic has 3 objectives which are, (1) to analyze the innovative management of community enterprises, (2) to study the influence of innovative management towards the establishment of competitive advantages of community enterprises, and (3) to propose the guidelines for developing innovative management to establish competitive advantages of community enterprises. This research adopted mixed-method design between quantitative research and qualitative research. In terms of quantitative research, questionnaires were collected from 342 members of community enterprises residing in 3 provinces in the eastern region including Chachoengsao, Chonburi, and Rayong. The data were analyzed using descriptive statistics and inferential variables, and processed by software package programs for social science research. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. T-test, One-Way Analysis of Variance and Multiple linear regression analysis with Coefficient of Determination (R2) were adopted for hypothesis testing by setting the level of statistical significance at 0.05. In terms of, qualitative research, the data were collected by in-depth interviews and sample groups from important individuals such as community leaders, chairman of community enterprises focusing on sustainable management, and members of the community enterprises. The research results showed that most community enterprises adopt innovative management practices at a moderate level with an average of 3.21. When considering each aspect, it was found that there were 2 aspects of innovation management at a high level, namely, the behavioral aspect at an average of 3.52, and the product and service aspect at an average of 3.46, respectively. Further, there were 3 aspects at a moderate level as follows: the operation aspect at an average of 3.18, the marketing aspect at an average of 2.96, and the strategy aspect at an average of 2.96, respectively. Overall, the community enterprises adopt innovative management practices to establish a competitive advantage at a moderate level with an average of 3.25. When considering each aspect, it was found that the innovation and product enhancement aspect is the only one at the high level with an average of 3.42, while 3 aspects were ranked a moderate level including the differentiation aspect at an average of 3.27, followed by the cost reduction aspect at an average of 3.20, and the flexibility aspect at an average of 3.18, respectively. en
dc.keyword สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account