DSpace Repository

บทบาทของเอสโตรเจนที่สังเคราะห์จากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสต่อการเรียนรู้และความจำของหนูแรทเพศเมีย

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-26T07:13:18Z
dc.date.available 2022-06-26T07:13:18Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4486
dc.description ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2562 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.description.abstract เป็นที่ทราบกันดีว่าภาวะสมองเสื่อมของหญิงชราวัยหมดประจาเดือนเป็นผลมาจากการลดลง อย่างฉับพลันของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ถึงแม้ว่าเอสโตรเจนส่วนมากในร่างกายจะสร้างมาจากรังไข่แต่อย่างไรก็ตามสมองก็สามารถสังเคราะห์เอสโตรเจนได้เช่นกัน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าในภาวะชรานั้นเอสโตรเจนที่สังเคราะห์ในสมองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและมีความสัมพันธ์กับภาวะความจำเสื่อมหรือการสูญสียความจำที่พบในหญิงชราหรือไม่ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาผลของอายุต่อการสังเคราะห์เอสโตรเจนและการเปลี่ยนแปลงของตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptor) ในสมองฮิปโปแคมปัสซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความจำ นอกจากนี้ยังศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจดจำได้ของหนูแรทเพศเมียด้วยวิธี Morris water maze การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสผ่านการแสดงออกของโปรตีนบ่งชี้กระบวนการ synaptic plasticity ที่สำคัญ ได้แก่ Arc และ PSD-95 นอกจากนี้ยังศึกษาโปรตีนบ่งชี้ภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ amyloid-β ในหนูแรทเพศเมีย อายุ 2, 5, 10 และ 19 เดือน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าหนูแรทเพศเมียอายุ 19 เดือน มีความสามารถในการจดจำที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับหนูแรทเพศเมียอายุ 5 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับระดับของเอสโตรเจนและตัวรับเอสโตรเจนชนิดเบต้าในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส กล่าวคือระดับของเอสโตรเจนและตัวรับเอสโตรเจนชนิดเบต้าของหนูแรทเพศเมียอายุ 19 เดือน มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับหนูแรทเพศเมียที่อายุ 2 เดือน ในขณะที่ระดับเอสโตรเจนในเลือดของหนูแรทเพศเมียอายุ 19 เดือน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับหนูแรทเพศเมียที่อายุ 2 เดือน แสดงให้เห็นว่าเอสโตรเจนที่สังเคราะห์จากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสมีอิทธิพลสำคัญต่อกระบวนการสร้างความจำ ในวัยชราของเพศหญิง นอกจากนี้ผลการศึกษาระดับโมเลกุลด้วยวิธี western blot แสดงให้เห็นว่าหนูแรทเพศเมียอายุ 19 เดือน มีการแสดงออกของโปรตีน Arc และ PSD-95 ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับหนูแรทเพศเมียที่อายุ 2 เดือน และยังพบการแสดงออกของ Amyloid-β มีปริมาณเพิ่มขึ้นในหนูแรทเพศเมียอายุ 19 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับหนูแรทเพศเมียที่อายุ 2 เดือน ดังนั้นความจำเสื่อมในภาวะชราของเพศหญิงน่าจะเป็นอิทธิพลของเอสโตรเจน ที่สังเคราะห์จากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสนาไปสู่การลดลงของ Arc, PSD-95 และ amyloid-β ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียความจำในที่สุด th_TH
dc.description.sponsorship คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ฮิปโปแคมปัส th_TH
dc.subject เซลล์ประสาท th_TH
dc.subject ความจำ th_TH
dc.title บทบาทของเอสโตรเจนที่สังเคราะห์จากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสต่อการเรียนรู้และความจำของหนูแรทเพศเมีย th_TH
dc.title.alternative Effect of synthesis of estrogen in the hippocampus brain that is to learning and memory of female rats en
dc.type Research th_TH
dc.author.email siripornc@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative It is well known that for menopausal women dementia is a result of declining levels of estrogen. The main estrogen in the body derives from gonads, however estrogen can also be synthesized locally within the brain. Interestingly, this may be a fundamental reason causing memory loss during aging. Therefore, this research aims to study the effects of age on estrogen synthesis and changes in estrogen receptors in the hippocampus, which are an important part of the synaptic plasticity processed. In addition to the memory, the study on behavioral changes of recognizable female rats was conducted using the Morris water maze. In this molecular study the expression of important synaptic proteins including Arc and PSD-95 was analyzed. Furthermore this study also examined the protein indication of dementia, Amyloid-β in female rats aged 2, 5, 10 and 19 months. The results showed that the 19-month-old-rat’s increase in escape latency or reduced memory was significant in comparison to the 5-month-old-rats. This corresponds to the levels of estrogen and beta estrogen receptors in the hippocampus. In other words, estrogen levels and beta estrogen receptors of female 19 months old rats decreased significantly when compared to female rats at the age of 2 months. Nevertheless, the level of estrogen in the blood of female rats aged 19 months increased significantly when compared to female rats at 2 months of age. The increase in blood estrogen does not affect recognition in 19-months-old female rats, showing that estrogen synthesized from the hippocampus plays an important role in the process of synaptic plasticity of aging women. In addition, a molecular study by western blot showed that 19-month-old-rats have a statistically significant decrease of expression of Arc and PSD-95 in the hippocampus, compared with 2 months-old-rats. Moreover, the expression of Amyloid-β was significantly increased in the 19-month-old female rats, compared to the 2 months-old female rats. Hence, the decrease in Arc, PSD-95 and Amyloid-β expression in the hippocampus, lead to memory loss. The present study concluded that the decrease in local hippocampal estrogen affect to is Arc, PSD-95 dependent pathway. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account