DSpace Repository

ความสัมพันธ์ของการเกิดยีนโพลีมอร์ฟิซึมของยีน BDNF และ GRIA3 ต่อความไวในการเกิดโรคซึมเศร้าในประชากรไทย

Show simple item record

dc.contributor.author ศรีอรุณ เอี่ยมจันทร์
dc.contributor.author เบญจมาศ สุขใจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-25T12:31:29Z
dc.date.available 2022-06-25T12:31:29Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4482
dc.description ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ ประจำำปีงบประมาณ 2562 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.description.abstract โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับการลดลงของสารสื่อประสาท serotonin และการส่งสัญญาณประสาทที่ผิดปกติในสมอง Brain-derived neurotrophic factor หรือ BDNF (สร้างจาก BDNF gene) เป็นโปรตีนที่สำคัญในการปกป้องเซลล์ประสาท ช่วยส่งเสริมและปรับสมดุลการส่งสัญญาณประสาท (synaptic plasticity) ในระบบสารสื่อประสาทต่าง ๆ รวมถึงระบบสารสื่อประสาท serotonin นอกจากนี้ โปรตีนตัวรับสารสื่อประสาทกลูตาเมทชนิด AMPA (สร้างจาก GRIA gene) มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและการส่งสัญญาณประสาท งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ระดับของ BDNF และ ตัวรับสารสื่อประสาทกลูตาเมทชนิด AMPA มีการลดลงในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ดังนี้ การเกิด gene polymorphism ของ BDNF และ GRIA genes ซึ่งเป็นกระบวนการทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับระดับการแสดงออกของยีนและโปรตีน น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับกลไกการก่อโรคซึมเศร้าได้ การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิด gene polymorphism ของยีน BDNF (rs6265) และ GRIA3 (rs502434) ต่อความไวในการเกิดโรคซึมเศร้าในประชากรไทย การศึกษา SNP genotyping ของยีน BDNF รหัส rs6265 และ GRIA3 รหัส rs502434 ได้ถูกดำเนินการในตัวอย่าง DNA ของอาสาสมัครชาวไทยกลุ่มควบคุมจำนวน 100 คน และอาสาสมัครกลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้า จำนวน 100 คน โดย TaqMan SNP genotyping assay ผลการทดลอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความถี่ของ genotype และ allele ของทั้ง ยีน BDNF-rs6265 และ GRIA3-rs502434 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มผู้ป่วย แสดงให้เห็นว่า การเกิด gene polymorphism ของยีน BDNF และ GRIA3 ในรหัสนี้ไม่สัมพันธ์ต่อความไวในการเกิดโรคซึมเศร้าปัจจัยความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีนที่ศึกษานี้ อาจยังไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมที่ส่งผลโดยตรงต่อกลไกการเกิดโรคซึมเศร้าในประชากรไทย th_TH
dc.description.sponsorship คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โรคซึมเศร้า th_TH
dc.subject โรคซึมเศร้า - - ผู้ป่วย th_TH
dc.subject โรคซึมเศร้า - - การรักษา th_TH
dc.title ความสัมพันธ์ของการเกิดยีนโพลีมอร์ฟิซึมของยีน BDNF และ GRIA3 ต่อความไวในการเกิดโรคซึมเศร้าในประชากรไทย th_TH
dc.title.alternative Association of BDNF and GRIA3 gene polymorphisms with vulnerability for major depressive disorder in the Thai population en
dc.type Research th_TH
dc.author.email sriaruni55@gmail.com th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Major depressive disorder (MDD) is one of mood disorder that related to the reduction of serotonin neurotransmitter. The decrease of serotonin can contribute dysfunction of neurotransmission in the brain. The dysfunction of neurotransmitter system has been reported in neurobiology of MDD. Brain-derived neurotrophic factor (BDNF), a member of neurotrophin family, plays role in neuronal growth, survival and maintenance. AMPA glutamate receptor subunit 3 (encoded by GRIA3 gene) is an ionotropic glutamate receptor which plays role in initial excitatory neurotransmission. Both BDNF and AMPA3 are implicated in the neurotransmitter systems and neuronal synaptic plasticity. Previous studies have reported the implication of BDNF and AMPA in psychiatric disorder, including MDD. Reductions of BDNF and AMPA glutamate receptor has been observed in postmortem brain of MDD patients. Moreover, single nucleotide polymorphism (SNP) is one of genetic mechanism related to control gene and protein levels. It is possible that the polymorphisms of BDNF and GRIA genes may also involve in the pathology of MDD. Therefore, the objective of this study is to evaluate the associations of BDNF rs6265 and GRIA3 rs502434 polymorphism with vulnerability for MDD in the Thai population. The rs6265 and rs502434 SNPs genotyping were performed in 100 controls and 100 MDD patients using TaqMan SNPs genotyping assays. The results showed that the frequencies of both alleles and genotypes of the BDNF rs6265 and GRIA3 rs502434 were not significantly different when compared between control and MDD groups. These results suggest that the polymorphism of BDNF rs6265 and GRIA3 rs502434 are not associated with susceptibility for MDD. These genetic variants might be not directly genetic risk factors for the mechanism underlying MDD in the Thai population. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account