DSpace Repository

ระบบควบคุมอัตโนมัติควบคุมระยะไกลสำหรับการปลูกเมล่อนในโรงเรือน

Show simple item record

dc.contributor.author ไพฑูรย์ ศรีนิล
dc.contributor.author สุมิตร คุณเจตน์
dc.contributor.author ธารารัตน์ พวงสุวรรณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-18T09:39:36Z
dc.date.available 2022-06-18T09:39:36Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4455
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงาน เงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา 05/2562 th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับควบคุมการปลูกเมล่อนในโรงเรือนโดยใช้ตัวควบคุมฟัซซี่ โดยที่ตัวควบคุมฟัซซี่ออกแบบจากข้อมูลที่ได้จากการทดลองปลูกเมล่อนในโรงเรือนด้วยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นการพัฒนาระบบแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ (1) การค้นหารูปแบบการให้น้ำและสภาพแวดล้อมในโรงเรือนที่เหมาะสม (2) การออกแบบตัวควบคุมฟัซซี่ (3) การพัฒนาแอพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสาหรับควบคุมระยะไกล และ (4) การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ในขั้นตอนการค้นหารูปแบบการให้น้ำที่เหมาะสม งานวิจัยนี้ได้กำหนดช่วงอายุของต้นเมล่อนออกเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 15-40 วัน และช่วงอายุ 40-80 วัน ในแต่ละช่วงอายุกาหนดรูปแบบการให้น้ำ 2 กรรมวิธี และทำการทดสอบการเจริญเติบโตของต้นเมล่อนจากการให้น้ำในแต่ละกรรมวิธีโดยการสังเกตจากค่าเฉลี่ยของ ขนาดยอด ความกว้างใบ ความยาวใบ และปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบ ผลการทดลอง พบว่า ในต้นเมล่อนช่วงอายุ 15-40 วัน ใน 2 กรรมวิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญบนการทดสอบทางสถิติ Z-test ที่ระดับนัยความสำคัญ 0.005 และเมื่อพิจารณาต้นเมล่อนในช่วงอายุ 40-80 วัน ใน 2 กรรมวิธีก็มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญบนการทดสอบทางสถิติ Z-test ที่ระดับนัยความสำคัญ 0.005 เช่นกัน จากผลการทดสอบกรรมวิธีการให้น้ำดังกล่าวทาให้ได้กรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการออกแบบตัวควบคุมฟัซซี่และใช้เป็นตัวควบคุมในระบบอัตโนมัติสำหรับการปลูกเมล่อน และในขั้นตอนท้ายสุด คือ การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบด้วยการวัดค่าน้ำหนักและความหวานของผลผลิตเมล่อนที่ได้จากการปลูกด้วยระบบอัตโนมัติเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้การปลูกด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ จากผลการทดสอบ พบว่า ผลผลิตเมล่อนทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญบนการทดสอบทางสถิติ Z-test ที่ระดับนัยความสำคัญ 0.005 นั่นก็หมายความว่า ระบบอัตโนมัติสำหรับควบคุมการปลูกเมล่อนในโรงเรือนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมานี้สามารถปลูกเมล่อนได้ไม่ต่างจากการปลูกด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้ th_TH
dc.description.sponsorship กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject เมล่อน - - การปลูก th_TH
dc.subject การควบคุมอัตโนมัติ th_TH
dc.title ระบบควบคุมอัตโนมัติควบคุมระยะไกลสำหรับการปลูกเมล่อนในโรงเรือน th_TH
dc.title.alternative Remote autonomous control system for melonplanting in the greenhouse en
dc.type Research th_TH
dc.author.email phaitoon@buu.ac.th th_TH
dc.author.email skunjet@yahoo.com th_TH
dc.author.email thararat@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This research presents the development of an automated system for controlling melon growing in greenhouse using a fuzzy controller. The fuzzy controller was designed based on the experimental data on melon growing in the greenhouse with the human expert. The system development process is divided into four main processes: finding suitable watering patterns and greenhouse climate, fuzzy controller design, developing the smartphone application, and the system performance testing. In the first process, finding the suitable watering pattern, the growing age range of melon was determined into two stages: 15-40 days, and 40-80 days. At each age range stage, two watering treatment patterns were set. Then, the growth of melon plants was tested for each pattern of watering treatment by observing the average size of the trunk, leaf width, leaf length and leaf chlorophyl. The results were found that in melon plants with age range of 15-40 days, the two watering treatment patterns were significantly different on the Z-test at a significance level of 0.005. And in melon plants with age range of 40-80 days, there was also a significant difference on the Z-test at a significance level of 0.005 as well. As a result of this testing, finding the suitable watering pattern, the suitable watering pattern was obtained for the design of fuzzy controller and used as a controller in automated system for controlling melon growing in greenhouse. Finally, in the system performance testing, the system was tested for melon planting efficiency by measuring the weight and sweetness of melon yield which obtained by the developed system compared to those obtained from cultivated by human experts. The results were shown that no significant difference between two groups of melon yield with the Z-test at a significance level of 0.005. This means that our developed system is able to calivate melons just like a human expert, or it could be said that this developed system can be used to work in place of human labor. en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account