dc.contributor.author | สกฤติ อิสริยานนท์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th |
dc.date.accessioned | 2022-06-18T08:39:34Z | |
dc.date.available | 2022-06-18T08:39:34Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4452 | |
dc.description | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และนำเสนอแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาในการดำเนินนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชลบุรี งานวิจัยชิ้นนี้เป็น การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการลงพื้นที่สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า บริบทที่ส่งผลต่อนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ประกอบไปด้วย ปัญหาการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาของการจัดการทรัพยากรที่ดินทำกินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ที่ยากจน ภายใต้รัฐบาล คสช. การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า พบว่า มีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ ด้านบุคลากรและงบประมาณ ซึ่งพบว่า ในด้านบุคลากรได้มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินนโยบาย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาผลักดันนโยบายให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบไปด้วย คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดชลบุรีและคณะทำงานนโยบายที่ดินจังหวัดชลบุรี ด้านจัดหาที่ดิน ด้านจัดที่ดิน ด้านส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ สำหรับงบประมาณในการขับเคลื่อนนโยบาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นงบดำเนินงานปกติของแต่ละหน่วยงาน ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่งบประมาณนั้นก็ยังไม่ทันต่อสถานการณ์และความต้องการในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนในการวิเคระห์กระบวนการ จะมีกระบวนประกอบด้วยด้านการจัดหาที่ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่ยึดคืนจากนายทุน ด้านการจัดที่ดินให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการในลักษณะแปลงรวม (สหกรณ์) ไม่ให้กรรมสิทธิ์ โดยเกษตรกรจะได้รับสิทธิในขนาดพื้นที่ 5 + 1 ไร่ มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน พื้นที่แปลงรวมของสมาชิกสหกรณ์และพื้นที่แหล่งน้ำ โดยผู้ได้รับการคัดเลือกมีจำนวนทั้งสิ้น 89 คน มีการสงเสริมพัฒนาอาชีพ ด้านการตลาด และการแปรรูปผลผลิต สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มและมีระบบการออมทรัพย์ ซึ่งในกระบวนการดำเนินนโยบายนั้นมีความเหมาะชัดเจนในกระบวนการ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ และขาดการบูรณา การหน่วยงานต่าง ๆ และผลการดำเนินนโยบาย พบว่า สามารถยึดคืนที่ดินที่ถือครองอย่าง ผิดกฎหมายและนำมาจัดสรรให้เกษตรกร ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่ม เกษตรกรผู้ยากไร้ เกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้ได้รับผลักดันออกจากป่า สามารถมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของตนเอง มีความเป็นอยู่และรายได้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น สำหรับข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ประกอบไปด้วย การวางกลไกและบทบาทของเครือข่ายภาคีในการขับเคลื่อนโครงการ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการเตรียมคนและพัฒนาคนก่อนเข้าสู่พื้นที่ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมกับชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเกษตรกร สนับสนุนให้เกิดทุนชุมชนเพื่อความยั่งยืน และการมีศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การจัดสรรที่ดิน | th_TH |
dc.subject | ที่ดินเพื่อการเกษตร | th_TH |
dc.title | การประเมินผลนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Evaluation of Government Policy on Land Allocation in Chonburi Province | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | sakrit@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to evaluate the government policy on land allocation for community in Chonburi province and to suggest possible solutions for implementing this policy. The research was a qualitative study involving the data collection from documents, interview and non-participating observations. The study found that the contexts that influenced the government policy on land allocation for community were as follows: the unfair distribution of land holding, the problem of land distribution for the agrarian reform; and the NCPO government policies to reduce inequality and to solve the problem in the lack of access to land for agriculturists and the poor. The input analysis revealed two important factors, that were personnel and budget resources. In terms of personnel resource, there were committees responsible for pushing forward policy implementation including the land policy subcommittees in Chonburi province, Chonburi group works in land policy, land acquisition, land distribution, and a career promotion and development. With regard to the budgets for the policy-driven process, most of them were an annual budget associated with normal day-to-day operations. However, they were still not able to change with the times and did not cover the needs in various activities. In the analysis of policy process, the research also investigated the process of land acquisition reclaiming from the capitalists, and the land distribution in terms of the collaborative land use without the land title deed. There were the 5+1 ‘rai’ usufruct given to the agriculturists, the common areas available for common use, the collaborative land for cooperative members, and the water supply area. The selective members were 89. Moreover, there were career developments including the marketing, the agricultural produce and processing, the encouragement of integration and the saving system. The policy implementation was suitable and clear, but still not successful according to the operation plan and the lack of integration between departments. Regarding the result of policy implementation, illegal land possession had been reclaimed in order to redistribute to the poor agriculturists. Land allocation were also available for young agriculturists and those who were driven out of the forest in order to promote their sustainable livelihoods and self–reliance. The proposed solution to the problem of land allocation policy for community involved with the mechanism and the roles of network partnership to drive project success, the stakeholder engagement, the process of member preparedness before entering to the areas, the community infrastructure development, the improvement of quality of life of agriculturists, the support of the community fund for sustainable development and community learning centers. | en |
dc.keyword | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | th_TH |