DSpace Repository

การศึกษาความสะดวกของสายการบินที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงการควบคุม

Show simple item record

dc.contributor.author จิราภา พึ่งบางกรวย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว th
dc.date.accessioned 2022-06-16T09:16:22Z
dc.date.available 2022-06-16T09:16:22Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4449
dc.description งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย th_TH
dc.description.abstract การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสี่ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาตัววัดที่เหมาะสมของความสะดวกของสายการบิน 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ในระดับความสะดวกของสายการบิน 3) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของการรับรู้ถึงการควบคุม และสุดท้าย 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงความสะดวกของสายการบินที่มีต่อการรับรู้ถึงการควบคุม โดยทำการศึกษาแบบสองขั้นตอนได้แก่ การศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน และการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 จำนวน 385 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะ เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ตัววัดที่เหมาะสม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยเทคนิค Principal Component Analysis (PCA) และหมุนแกนปัจจัยแบบ Varimax และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ทำการวิเคราะห์ ความเที่ยงตรง (Validity) ด้วยความเที่ยงจริงเชิงพินิจ (Face Validity) ความเที่ยงตรงเชิงจำแนก (Discriminant Validity) และความเที่ยงตรงเชิงเหมือน (Convergent Validity) และทำการวิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือภายในด้วยค่า Cronbarch’s Alpha, Construct Reliability (CR.) และค่าเฉลี่ยของ ความแปรปรวนที่สกัดได้ (AVE.) ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM.) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีการเดินทาง ครั้งสุดท้ายภายในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ใช้บริการสนามบินนานาชาติดอนเมือง และใช้บริการ สายการบินไทยแอร์เอเชียมากที่สุด ผลการศึกษาตัววัดความสะดวกของสายการบินพบว่า มิติในการวัดความสะดวกของสายการบิน มีทั้งหมด 5 มิติ 16 ตัววัด (Measurement items) ได้แก่ ความสะดวกในการตัดสินใจ มี 3 ตัววัด ความสะดวกในการเข้าถึง มี 3 ตัววัด ความสะดวกในการทำธุรกรรม มี 3 ตัววัด ผลประโยชน์ความ สะดวก มี 4 ตัววัด และผลประโยชน์ย้อนหลังของความสะดวก มี 3 ตัววัด ผลการศึกษาระดับการรับรู้ความสะดวกของสายการบินในประเทศไทยพบว่า ความสะดวกใน การตัดสินใจความสะดวกในการทำธุรกรรม และผลประโยชน์ของความสะดวก อยู่ในระดับ “มากที่สุด” และความสะดวกในการเข้าถึง และผลประโยชน์ย้อนหลังของความสะดวก อยู่ในระดับ “มาก” นอกจากนี้ ผลการศึกษาระดับการรับรู้ถึงการควบคุม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความสะดวกในการตัดสินใจ ความสะดวกในการทำธุรกรรม ผลประโยชน์ความสะดวก และผลประโยชน์ย้อนหลังของความสะดวก มีผลเชิงบวกต่อการรับรู้ถึงการ ควบคุม th_TH
dc.description.sponsorship คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สายการบิน th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการบิน th_TH
dc.title การศึกษาความสะดวกของสายการบินที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงการควบคุม th_TH
dc.title.alternative The Study of Airline Convenience Effecting Toward Perceived Control en
dc.type Research th_TH
dc.author.email jirapap@buu.ac.th th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative This study have four objectives; to study the level of airline convenience perception in Thailand and to study the measurement items of airline convenience. This study have two stages; qualitative study with twelve in-depth interviews and quantitative study by questionnaire. Sample size calculation at confidential level of 0.95 are 385 samples. Sampling by snowball technique. Analytical technique in qualitative stage was content analysis. In quantitative stage, statistics were average, mean and standard deviation. Exploratory factor analysis was employed by principal component analysis (PCA) with varimax rotation. In addition, confirmatory factor analysis was employed. Moreover, validity analysis were employed by face validity, discriminant validity and convergent validity. In addition, internal consistency analysis by Cronbarch’s alpha, construct reliability (CR.) and average variance extracted (AVE.) also provided. The hypothesis testing analyzed by Structural Equation Modeling (SEM.). The results found that most of respondents were female, had their last trip within one month. Most of them depart from Don Muang International Airport with Thai Air Asia airline. The airline convenience measurement study found that airline convenience measurement dimension had five dimensions with 16 measurement items; decision convenience 3 items, access convenience 3 items, transaction convenience 3 items, benefit convenience 4 items, and post-benefit convenience 3 items. The perception level of airline convenience in Thailand also found that decision convenience, transaction convenience and benefit convenience were “very high level”. Moreover, access convenience and post-benefit convenience were “high level”. In addition, the results found that perception level of perceived control were “very high level”. The hypothesis testing found that decision convenience, transaction convenience, benefit convenience and Post-benefit convenience have a positive impact toward perceived control. en
dc.keyword สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account