DSpace Repository

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีลีแวนเป็นส่วนประกอบ

Show simple item record

dc.contributor.author อภิรดี วรรังสฤษฎิ์
dc.contributor.author ณัฎฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์
dc.contributor.author วิทวัส แจ้งเอี่ยม
dc.contributor.author ภูริพัทธ์ อรรถเวชกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-16T08:08:14Z
dc.date.available 2022-06-16T08:08:14Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4447
dc.description งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยายาลัยบูรพา จากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 th_TH
dc.description.abstract ที่มาของปัญหา: ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เป็นครีมเบสมีคุณสมบัติเป็นสารให้ความนุ่มลื่น เมื่อทำลงบนผิวจะช่วยเติมเต็มช่องว่างระหว่างเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวมีความเรียบเนียน ลีแวนมีคุณสมบัติเป็นสารฮิวเมกเตนท์เมื่อนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์โดยเพิ่มความสามารถในการดูดน้ำจากสิ่งแวดล้อม เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังและลดการสูญเสียน้ำผ่านผิวหนัง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีลีแวนเป็นส่วนประกอบ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทางชนิดทดลองภายในคนเดียวกัน โดยทำการทดลองในประชากรไทย อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ทั้งสองเพศในจังหวัดชลบุรี จำนวน 28 คน อาสาสมัครจะได้รับการสุ่มเป็นสองกลุ่ม โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายทั้ง 2 สูตรคือสูตรลีแวนและสูตรครีมเบสเหมือนกัน แต่ทั้งสองกลุ่มจะมีวิธีการทำแตกต่างกัน ผลลัพธ์คือ ความชุ่มชื้น ของผิว ค่าการสูญเสียความชุ่มชื้นผ่านผิวหนัง อาการไม่พึงประสงค์และความพึงพอใจของการใช้ผลิตภัณฑ์ช่วงก่อนทดลองและหลังการทดลองในระยะเวลา 7 วัน การประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ใช้สถิติ Wilcoxon Sign Rank test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติเป็น p-value <0.05 ผลการศึกษา: ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายสูตรลีแวน ทำให้ผิวมีค่าความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มขึ้นหลังทำต่อเนื่องเป็น ระยะเวลา 7 วันมากกว่าสูตรครีมเบส โดยสูตรลีแวนทำให้ความชุ่มชื้นผิวเพิ่มขึ้นเป็น 42.6 A.U. และสูตรครีม เบสทำให้ความชุ่มชื้นผิวเพิ่มขึ้นเป็น 31.8 A.U. (p<0.05) ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายสูตรลีแวนทำให้ผิว มีค่าการสูญเสียน้ำผ่านผิวหนังลดลงหลังทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 7 วันและลดลงมากกว่าสูตรครีมเบส โดยสูตรลีแวนทำให้ค่าการสูญเสียน้ำผ่านผิวหนังลดลงเป็น 7.8 g/hm2 และสูตรครีมเบสทำให้ค่าการสูญเสียน้ำผ่านผิวหนังลดลงเป็น 10.7 g/hm2 (p<0.05) ไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สูตรของอาสาสมัคร สรุป: จากผลการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายสูตรลีแวนสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวและลดการสูญเสียน้ำผ่านผิวหนังดีกว่าสูตรครีมเบส ทั้งในการใช้ระยะสั้นและระยะยาว และมีความปลอดภัย ซึ่งสูตรลีแวนสามารถออกฤทธิ์ได้ดีทั้งในคนที่มีสภาพผิวแห้งและแห้งมาก ดังนั้นการใช้ลีแวนเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายจึงมีประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้ th_TH
dc.description.sponsorship คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ครีมถนอมผิว - - การผลิต th_TH
dc.title ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายที่มีลีแวนเป็นส่วนประกอบ th_TH
dc.title.alternative Efficacy and safety of body skincare procuct containing levan en
dc.type Research th_TH
dc.author.email nphonja@buu.ac.th th_TH
dc.author.email nuttinee@buu.ac.th th_TH
dc.author.email witawat@buu.ac.th th_TH
dc.author.email Pureepat.a@outlook.com th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative BACKGROUND: Cream base skincare products have emollient properties, when applied to the skin, they fill the spaces between skin cells to create the smooth skin. Levan has humectant property to moisturize the skin by absorbing moisture from the environment. When we use Levan as one of the ingredients in skin care products, it enhances the product's efficacy to moisturize the skin and reduce transepidermal water loss (TEWL). OBJECTIVES: The purpose of this study was to evaluate efficacy and safety of body skincare product containing Levan. METHODS: This study was a randomized, double-blind, and self-controlled. The study included 28 Thai healthy volunteers, aged 20 years old and over, both male and female, and living in Chonburi Province. The volunteers were randomly assigned into two groups. They are provided with the same skincare products, both the Levan formula and the cream base formula to apply to their forearm, but each group had different application methods. The results were the skin hydration, TEWL, adverse reactions and satisfaction of the products between pre-trial and post-trial period for 7 days. Wilcoxon Sign Rank test was used for the analysis of the study outcomes. A p-value < 0.05 was considered as significant. RESULTS: The body skincare product formulated with Levan can improve skin hydration better than cream-base formula after application for 7 days (p<0.05). The Levan formula and cream-base formula increases skin hydration to 42.6 A.U., 31.8 A.U., respectively. Levan formula can reduce TEWL immediately after application, and gradually reduce over time. After apply these products for 7 days, the Levan formula reduces TEWL to 7.8 g/hm2 and the cream-base formula reduces TEWL to 10.7 g/hm2 (p<0.05). No adverse effects were observed from using both formulas skincare product. CONCLUSIONS: Body skincare product containing Levan is effective in moisturizing the skin and reducing TEWL in both short and long term use, and safe to use. The Levan formula works well in both dry and very dry skin conditions, thus using Levan as an ingredient in a body skincare product can enhance the product's effectiveness. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account