DSpace Repository

แนวทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนเพื่อรองรับ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author กาณติมา พงษ์นัยรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-16T04:25:40Z
dc.date.available 2022-06-16T04:25:40Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4432
dc.description สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชน ศึกษาแนวทางการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ รวมถึงเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อันได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารในสายงานทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรภาคเอกชนจำนวนทั้งสิ้น ๑๗ คน (บริษัทละ ๑ คน) เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยใช้คำถามปลายเปิดสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นความต้องการ แนวทางหรือมุมมองในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในแง่มุมต่าง ๆ โดยละเอียด รวมถึงข้อเสนอแนะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการจ้างแรงงานสูงอายุ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นด้านความต้องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชน เห็นควรจ้างแรงงานผู้สูงอายุให้ทำงานต่อไป เนื่องจากเป็นแรงงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูง สามารถช่วยพัฒนาองค์กรและบุคลากรได้เป็นอย่างดี และปัจจุบันแรงงานรุ่นใหม่ยังไม่สามารถเข้ามาเติมเต็มตลาดแรงงานได้ทัน ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประเด็นต่อมาคือด้านจุดแข็งของแรงงานผู้สูงอายุที่มีอย่างหลากหลายทั้งการมีองค์ความรู้ ทักษะรอบด้านและประสบการณ์ที่ดีทั้งด้านบริหารและความชำนาญในวิชาชีพ จึงสามารถส่งต่อความรู้ต่าง ๆ ไปยังแรงงานรุ่นใหม่ ทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้แรงงานผู้สูงอายุเป็นผู้ที่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เป็นอย่างดี รวมถึงเป็นผู้มีความรับผิดชอบและความอดทนต่อการทำงาน และที่สำคัญคือสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีโดยเฉพาะในสภาวะกดดัน สำหรับประเด็นจุดอ่อนที่แรงงานผู้สูงอายุจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคือ ความเข้าใจในเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นและสาคัญยิ่งในปัจจุบัน รวมถึงองค์ความรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปคือแรงงานผู้สูงอายุควรเพิ่มทักษะการทำงานให้เป็นแบบ Multi Skill พยายามเพิ่มเติมองค์ความรู้เดิมให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ประเด็นต่อมาคือด้านภาพรวมทางเศรษฐกิจ สังคม และระดับประเทศพบว่า การจ้างแรงงานผู้สูงอายุให้ทำงานต่อไปถือเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เป็นภาระต่อสังคมและภาครัฐในการดูแล นอกจากนี้ยังทาให้ห่างไกลโรคภัยบางประเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น ในประเด็นด้านปัญหาหรืออุปสรรคจากการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในเทคโนโลยีและบางท่านอาจยังยึดติดกับการทำงานรูปแบบเดิม ๆ ไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ รวมถึงเรื่องสุขภาพที่อาจเป็นปัญหาในบางตำแหน่งงาน ประเด็นด้านการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุพบว่า ควรจัดหน้าที่งานให้เหมาะสมกับช่วงอายุหรือองค์ความรู้ที่มี โดยเน้นการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ประเด็นสุดท้ายคือด้านรูปแบบและแนวทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในอนาคตเห็นว่าควรจ้างแรงงานผู้สูงอายุให้ทำงานต่อไป เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทางานสูง พบเจอปัญหาและอุปสรรคมากมาย ผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มาแล้ว จึงถือเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหน้าที่ที่เหมาะสมจึงควรเน้นการเป็นที่ปรึกษา โดยต้องมีการกำหนดระเบียบการขยายเกณฑ์การเกษียณอายุอย่างชัดเจนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน th_TH
dc.description.sponsorship คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ - - การจ้างงาน th_TH
dc.title แนวทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนเพื่อรองรับ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Guidelines for hiring older workers of private sector for supporting the Eastern Economic Corridor en
dc.type Research th_TH
dc.author.email kantima.w@gmail.com th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative This research aims to study the requirements for elderly workers in private sector, examine practical guidelines for the employment of the elderly as well as investigate problems and obstacles in hiring the elderly among private sector in the Eastern Economic Corridor region including Chonburi, Rayong and Chachoengsao. In this research, the researcher adopted a qualitative research method by collecting data from a sample group of 17 executives in the human resource department of private organizations (1 person from 1 company). The adopted research instrument is the in-depth interview using open-ended questions for key Informants. The interview questions cover a variety of issues consisting of guidelines or perspectives on the employment of the elderly from various aspects in details and crucial recommendations related to guidelines for the employment of the elderly in order to propose the pathway to the development of Thailand’s economic system in the future. The research results show that, regarding the issues relating to private sector's need to hire elderly workers, it was suggested that elderly workers should be continually employed since they are workers with high working experience who are capable of assisting the organizational and personnel development. Additionally, new generation workers are still unable to fulfill the labour market at the moment, which leads to a shortage of labour. The next issue is the various strength of the elderly workers including knowledge, skills, and high experience in both management and professional expertise, which can pass on to new generation workers to maximize efficiency at work. Furthermore, elderly workers have good understanding of organizational culture and regulations. They are also highly responsible and tolerant. Most importantly, they are able to control emotions well, especially in stressful situations. On the contrary, the weakness that elderly workers need to improve is the understanding of technology, that is necessary and essential in this era, as well as other relevant areas of knowledge. In summary, elderly workers should strengthen their working skills to be multi-skill workers and try to modernize the original knowledge. With regards to the next issue relating to economic, social and national overview. it was found that hiring the elderly to continue working can be considered as the promotion of income-generating schemes that support the elderly to not be a burden to society and the government. This can also remove some types of illness such as depression, Alzheimer's disease etc. Concerning the issue of problems or obstacles from the employment of the elderly. it was found that most of them did not understand technology and some of them may still cling to the same working style, not open to change and face health issues that may cause problems in some positions. Relating to the issue of solving problems or obstacles in the employment of the elderly, it was found that the job duties should be arranged according to age ranges or the existing knowledge by focusing on consulting positions. The last issue deals with the pattern and guidelines for employing the elderly in the future. It was proposed that that elderly workers should be continually hired as they have high working experience and they also have encountered many problems and obstacles as well as passing through the process of solving various problems. They can be considered as competent workers who can well-transfer knowledge to the new generation. Therefore, the appropriate duty should focus on consulting positions. However, there must be a clear regulations and criteria for extending the age of retirement in order to generate mutual understanding. en
dc.keyword เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) th_TH
dc.keyword สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account